วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

เรื่องที่ 40 : การกินยาเกินขนาดจนเสียชีวิต เป็นอุบัติเหตุหรือเปล่า?



(ตอนที่หนึ่ง)

ในบทความเรื่องที่ 39 ที่ผ่านมา อ้างอิงมาจากคำพิพากษาศาลฎีกาของประเทศแคนาดา ในคดี Co-operators Life Insurance Co. v. Gibbens, [2009] S.C.J. No. 59  ทำให้บางท่านอาจตั้งคำถามว่า ถ้าไม่เจอคำพิพากษาของประเทศไทย ก็ลองหาจากในประเทศแถบเอเชียนี้ได้ไหม? เผื่อจะมีมุมมองที่แตกต่างกันออกไปก็ได้

บังเอิญด้วยความที่อยู่ไม่เป็นสุขนัก เลยไปอ่านเจอคดีล่าสุดของประเทศสิงค์โปร ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลพอดี โดยเรื่องราวมีอยู่ว่า

เมื่อเช้าวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 2012 มีคนไปพบนาย Q อายุ 50 ปี นอนไม่ได้สติอยู่บนพื้นห้องนอน จึงได้นำตัวส่งโรงพยาบาล แต่แพทย์ก็ไม่อาจช่วยเหลืออะไรได้ทัน นาย Q เสียชีวิตภายหลังจากถึงมือแพทย์ไม่นาน ด้วยสาเหตุการตายเนื่องจากภาวะร่างกายล้มเหลวโดยมีอาการตกเลือดในปอด (Pulmonary Haemorrhage) อันเป็นผลมาจากการเสพยาหลายขนานจนก่อให้เกิดผลข้างเคียง (Mixed Drug Intoxication)

ทายาทของนาย Q ผู้ซึ่งได้เอาประกันภัยตนเองเอาไว้ภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลก่อนที่จะเสียชีวิต ได้มาเรียกร้องให้บริษัทประกันภัยรายนั้นรับผิดชอบ แต่ได้รับการปฎิเสธว่า การเสียชีวิตของผู้เอาประกันภัยมิใช่เกิดจากอุบัติเหตุตามเงื่อนไขความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว

ทายาทจึงได้นำคดีขึ้นสู่ศาล

ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้เอาประกันภัยได้กินยาเกินขนาดอย่างน้อยสามขนานในการรักษาอาการเจ็บหลังเรื้อรังที่เป็นมาก่อนหน้านั้นหลายปี โดยเคยไปพบแพทย์หลายคนมาแล้ว และได้รับยาหลายขนานมาทานจนก่อให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นมา จึงไม่ถือเป็นอุบัติเหตุ เพราะผู้เอาประกันภัยคาดหวังได้ถึงผลข้างเคียงที่จะเกิดตามมาได้อยู่แล้ว แม้จะไม่ปรากฏหลักฐานการฆ่าตัวตายก็ตาม ด้วยเหตุนี้ บริษัทประกันภัยจึงไม่จำต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว

ทายาทได้ทำการอุทธรณ์

ลองทายกันดูนะครับว่า ศาลอุทธรณ์มีความเห็นอย่างไร?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น