วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

เรื่องที่ 39 : การมีเพศสัมพันธ์ และติดเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์ถือเป็นอุบัติเหตุหรือไม่?



(ตอนที่สอง)

ศาลชั้นต้นคดีนี้พิจารณาโดยอาศัยเทียบเคียงจากคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีที่ผ่านมา ซึ่งตั้งสมมุติฐานว่า ผู้เอาประกันภัยมุ่งหวังผลที่เกิดขึ้นหรือไม่? โดยอาศัยสถานการณ์แวดล้อมต่าง ๆ มาพิจารณาประกอบด้วย หากเจตนารมณ์ของผู้เอาประกันภัยนั้นไม่ชัดเจน ก็อาศัยความคาดหวังของวิญญูชนทั่วไปเป็นเกณฑ์

ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ผู้เอาประกันภัยมิได้คาดหวังให้ตนเองได้รับภาวะ/โรคประสาทไขสันหลังอักเสบ (Transeverse Myletisis (TM)) จากการมีเพศสัมพันธ์ที่ปราศจากการป้องกันนั้นแต่ประการใด แม้ผู้เอาประกันภัยนี้ออกจะขาดความไม่ใส่ใจไปบ้าง และตระหนักถึงความเสี่ยงภัยที่อาจมีขึ้นก็ตาม แต่การรับรู้กับการมุ่งหวังนั้นแตกต่างกันอย่างชัดเจน ทั้งการติดเชื้อโรคร้ายแรงเช่นนี้ก็มิได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งนัก เมื่อเทียบเคียงกับคดีเรื่องยุงกัด ศาลชั้นต้นเห็นพ้องด้วยว่า การติดเชื้อโรคเป็นผลต่อเนื่องมาจากอุบัติเหตุ อันเข้าองค์ประกอบตามคำนิยามของอุบัติเหตุ ซึ่งผู้เอาประกันภัยจำต้องรับผิดแล้ว

บริษัทประกันภัยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์เห็นว่า ศาลชั้นต้นตัดสินโดยชอบแล้ว เนื่องด้วยการติดเชื้อโรคนั้นมิได้เกิดขึ้นโดยปกติทั่วไป แต่เกิดจากปัจจัยภายนอก ซึ่งก่อให้เกิดผลสืบเนื่องที่ผู้เอาประกันภัยมิได้ตั้งใจ หรือที่มิได้มุ่งหวังเอาไว้

สองชั้นศาลผ่านไปแล้ว ความคาดหวังในการต่อสู้คดีของบริษัทประกันภัยรายนี้ดูแล้วน่าจะริบหรี่ลง จะยอมถอดใจหรือไม่ แต่ไหน ๆ ก็ไหน ๆ ลองดูให้ถึงที่สุดไปเลยดีไหม? ครับในที่สุด บริษัทประกันภัยรายนี้ขอกัดฟันสู้ต่ออีกสักตั้ง

งั้นเรามาลองลุ้นกันดูว่า ศาลฎีกาคดีนี้จะเห็นด้วยกับทั้งสองชั้นศาลหรือไม่? ในตอนต่อไปนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น