(ตอนที่หนึ่ง)
ไม่ว่าในกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยทั่วไป
ซึ่งจะต้องขยายภัยระเบิดเพิ่มเติมเสียก่อน
และกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย ซึ่งคุ้มครองภัยระเบิดโดยอัตโนมัติ
ตลอดจนกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน
ซึ่งให้ความคุ้มครองแบบสรรพภัยโดยรวมภัยระเบิดด้วย ฉบับมาตรฐานของประเทศไทย
ล้วนมิได้ให้คำนิยามคำว่า “ภัยระเบิด (Explosion)” เอาไว้เลย
เช่นเดียวกับของกรมธรรม์ประกันภัยทรัพย์สินในต่างประเทศ
งั้นคุณคิดว่า “ภัยระเบิด
(Explosion)” ควรมีความหมายอย่างไร? กว้าง หรือแคบขนาดไหน?
หรือคุณอาจคิดแบบผู้เอาประกันภัยรายนี้ในต่างประเทศหรือเปล่า?
ผู้เอาประกันภัยรายหนึ่งพักอาศัยอยู่ในห้องชุดของคอนโดมิเนียมแห่งหนึ่ง
และได้ทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยคุ้มครองทรัพย์สินที่เอาประกันภัยของตนที่อยู่ในห้องชุดนั้นเอาไว้ด้วย
ต่อมาวันหนึ่ง ผู้เอาประกันภัยรายนี้สังเกตุเห็นของเหลวชนิดหนึ่งมีกลิ่นเหม็นไหลแทรกซึมจากห้องชุดชั้นบนทะลุผ่านเพดานเข้ามา
จนทำความเสียหายให้แก่ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยบางรายการของตน จึงได้ไปร้องเรียนต่อนิติบุคคลอาคารชุด
เพื่อให้มาตรวจสอบ
เมื่อมิได้มีปฎิกิริยาตอบรับจากผู้อยู่ในห้องชุดนั้น
ทางนิติบุคคลอาคารชุดตัดสินใจไขกุญแจเปิดประตูเข้าไป
พบร่างของผู้อยู่ในห้องชุดนั้นนอนเสียชีวิตอยู่บนพื้น สันนิษฐานว่า
น่าจะเสียชีวิตมาหลายวันแล้ว จนร่างกายอยู่ในสภาพขึ้นอืด แก๊สภายร่างกายในเกิดประทุ
และระเบิดปลดปล่อยของเหลวภายในออกมาจนสร้างความเสียหายดังกล่าวให้แก่ผู้เอาประกันภัยรายนี้
ครั้นผู้เอาประกันภัยไปเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยโดยอ้างว่า
ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้เสียหายเนื่องจากภัยระเบิด ซึ่งการระเบิดของศพ (Exploding
Corpse) นั้น ควรอยู่ในความหมายของภัยระเบิดนั้นด้วย
เพราะมิได้มีการกำหนดคำนิยามเอาไว้อย่างชัดแจ้ง บริษัทประกันภัยแห่งนี้จึงปฏิเสธความรับผิดทันที
โดยต่อสู้ว่า แม้ภัยระเบิดจะมิได้มีการกำหนดคำนิยามเอาไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย แต่ตามเจตนารมณ์แล้ว
คงมิได้หมายความรวมไปถึงการระเบิดของศพดังที่ผู้เอาประกันภัยกล่าวอ้างแน่นอน
เช่นเคยครับ ผู้เอาประกันภัยได้นำเรื่องนี้ขึ้นสู่ศาลเรียกร้องให้บริษัทประกันภัยรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย
และอีกเช่นกัน ขอฝากเป็นการบ้านให้คิดว่า ผลทางคดีน่าจะออกมาอย่างไร?
จนกว่าจะพบกันคราวหน้าครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น