(ตอนที่หนึ่ง)
ความสูญเสีย
หรือความเสียหายโดยอ้อม (Indirect Loss or Damage) หรือบางครั้งก็เรียกว่า
ความสูญเสีย หรือความเสียหายสืบเนื่อง (Consequential Loss or Damage)
ความหมายตามพจนานุกรมต่างประเทศ
กำหนดไว้ดังนี้
“ความเสียหายสืบเนื่อง
(Consequential Loss) หมายความถึง ความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยเป็นผลมาจากการที่ธุรกิจไม่สามารถดำเนินการตามปกติได้
อันเนื่องจากความเสียหายที่มีต่ออุปกรณ์ ทรัพย์สิน หรือภัยอื่นใด อีกนัยหนึ่ง
นั่นก็คือ ความเสียหายโดยอ้อม (Indirect Loss) นั่นเอง การประกันภัยทรัพย์สินโดยทั่วไปจะคุ้มครองเพียงความเสียหายต่อตัวอาคาร
หรือสิ่งปลูกสร้าง แต่มิได้คุ้มครองความเสียหายที่เกิดแก่ยอดขาย หรือรายได้
ซึ่งเกิดเป็นผลสืบเนื่องมาจากความเสียหายอันแรกนั้นเอง”
(Insuranceopedia)
“ความเสียหายโดยอ้อม
(Indirect Damage Loss) หมายความถึง ความเสียหายอันเป็นผลมาจากความเสียหายโดยตรงต่อทรัพย์สิน
ยกตัวอย่างเช่น ความเสียหายที่เกิดแก่เงินได้กับค่าใช้จ่าย
อันเป็นผลมาจากการที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่เสียหายนั้นได้อีกต่อไป”
(International Risk Management Institute, Inc. (IRMI))
สำหรับพจนานุกรมศัพท์ประกันภัย
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายเทียบเคียงว่า
“การประกันภัยความเสียหายสืบเนื่อง
(Consequential Loss Insurance) คือ การประกันภัยความเสียายทางการเงิน ซึ่งเป็นผลสืบเนื่อง
และนอกเหนือจากความเสียหายทางวัตถุ อันเกิดจากภัยที่เอาประกันภัยได้”
ต่อไปนี้ ในบทความขอใช้คำเรียกรวมว่า “ความเสียหายโดยอ้อม” แทน ซึ่งในแง่การประกันภัย จะเป็นเรื่องความเสียหายทางการเงิน อันสืบเนื่องมาจากความเสียหายต่อวัตถุที่เอาประกันภัย โดยหากจะให้ได้รับความคุ้มครองในส่วนนี้ ก็จะต้องขยายความคุ้มครองเพิ่มเติม หรือไปซื้อประกันภัยแยกต่างหาก
ดังตัวอย่างเปรียบเทียบความเสียหายโดยตรงกับความเสียหายโดยอ้อม เพื่อให้เห็นภาพ ดังนี้
ความเสียหายโดยตรง ความเสียหายโดยอ้อม
- บ้านถูกไฟไหม้เสียหาย - ค่าเช่าบ้านระหว่างสร้าง
ใหม่
- รถยนต์พลิกคว่ำเสียหาย - ค่าเช่ารถ หรือค่ารถรับ
จ้างสาธารณะระหว่างรอ
ซ่อม
- ผู้เอาประกันภัยหกล้มขาหัก - ขาดรายได้ระหว่างพัก
รักษาตัว
- งานก่อสร้างศูนย์การค้าถูกพายุถล่ม - ต้องเลื่อนกำหนดเวลา
จนเสร็จไม่ทันตามกำหนดเวลาเดิม เปิดใหม่ ส่งผลต่อรายได้
ค่าใช้จ่าย
เหล่านี้ คือ ตัวอย่างของความเสียหายโดยอ้อม (Indirect Loss) อย่างที่คนประกันภัยต่างเข้าใจ
ครั้นเวลาเกิดเป็นคดีฟ้องร้องขึ้นมา ในแง่ของกฎหมาย ศาลจะเห็นเป็นเช่นนั้นด้วยหรือไม่?
คงต้องอดใจไปว่ากันต่อในตอนต่อไปแล้วครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น