(ตอนที่สอง)
เรื่องนี้
ผู้เอาประกันภัยไม่ยอมรับความเห็นของบริษัทประกันภัย จึงนำเรื่องนี้ขึ้นสู่ศาล โดยศาลชั้นต้นเห็นด้วยกับบริษัทประกันภัย การตีความต้องอาศัยความหมายปกติทั่วไปในพจนานุกรมของ “สาเหตุโดยตรง (directly
caused)” คือ สาเหตุต้องเกิดขึ้นโดยฉับพลัน (immediate cause) ในที่นี้คือ ควรต้องเกิดไฟไหม้ต่อเครื่องจักรที่เอาประกันภัยไว้ แต่กลับปรากฏว่าในคดีนี้
สาเหตุที่เกิดขึ้นโดยฉับพลันกลับเป็นไฟฟ้าลัดวงจรแทน
อย่างไรก็ตาม ผู้เอาประกันภัยไม่ยอมแพ้
สู้ต่อถึงศาลอุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์วิเคราะห์ คำว่า “สาเหตุโดยตรงจากไฟไหม้ (directly
caused by fire)” ในกรมธรรม์ประกันภัยนั้น หมายความเทียบเคียงได้กับคำว่า
“สาเหตุใกล้ชิด (proximate cause)” ซึ่งเป็นคำที่ควรใช้ในการตีความทางกฎหมายมากกว่าใช้ความหมายของ
“โดยตรง” จากพจนานุกรมอย่างที่ศาลชั้นต้นใช้ตีความ เมื่อพิจารณาจากเจตนารมณ์ของคู่สัญญาประกันภัย
ต่างก็ประสงค์จะให้คุ้มครองถึงความเสียหายที่มีสาเหตุมาจากไฟไหม้ แม้ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยมิได้ถูกไฟไหม้เลย
ตราบใดที่ยังมีทรัพย์สินอื่นถูกไฟไหม้อยู่ ฉะนั้น เมื่อบริษัทประกันภัยใช้ถ้อยคำ “สาเหตุโดยตรงจากไฟไหม้
(directly caused by fire)” ในกรมธรรม์ประกันภัย ก็เสมือนให้มีความหมายเช่นเดียวกับ
“สาเหตุใกล้ชิด (proximate cause)” นั่นเอง
การเกิดไฟไหม้
(ที่เสาไฟฟ้า) จึงเป็นสาเหตุที่ส่งผลโดยตรง และต่อเนื่องโดยไม่ขาดตอน จนทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรแก่เครื่องจักรที่เอาประกันภัยไว้ของผู้เอาประกันภัย
แต่ถ้าบริษัทประกันภัยไม่ประสงค์จะให้ความคุ้มครองถึงขนาดนี้ ก็ควรเลือกใช้ถ้อยคำอื่นทำนองว่า
“สาเหตุโดยฉับพลันที่สุดจากไฟไหม้ (most immediate cause)” แทนจะตรงกับความประสงค์ดังกล่าวมากกว่าใช้คำว่า “โดยตรง” เช่นนี้
ด้วยเหตุผลดังกล่าว ศาลอุทธรณ์จึงตัดสินให้บริษัทประกันภัยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย
อ้างถึง
คดี Lasermax Engineering Pty Limited v QBE Insurance
(Australia) Limited [2005] NSWCA 66
พจนานุกรมศัพท์ประกันภัย
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า “สาเหตุใกล้ชิด (proximate
cause)” หมายความถึง “ต้นเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหายโดยตรง
หรือเป็นเหตุต่อเนื่องโดยไม่ขาดตอน ที่ทำให้เกิดความเสียหาย”
คุณเห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีนี้ไหมครับ?
เทียบเคียงได้กับกรณีที่เราเคยเรียนรู้กันมาว่า หากเกิดไฟไหม้ข้างเคียง ผู้เอาประกันภัยภายใต้กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยเกรงว่า ไฟจะลุกลามมาถึงบ้านของตนเอง จึงขนของหนี แต่สุดท้ายโชคดีไฟถูกดับทันก่อนที่จะลุกลามมาถึงบ้านของผู้เอาประกันภัย ครั้นพอมาตรวจสอบทรัพย์สินที่เอาประกันภัย ซึ่งถูกขนหนีออกมา ปรากฏว่า บางชิ้นแตกหักเสียหายจากการโยน บางชิ้นถูกคนร้ายแอบขโมยไป ทั้งหมด ไม่มีรายการใดเลยเสียหายจากไฟไหม้ ซึ่งเราก็สรุปกันว่า ความเสียหายทั้งหมดล้วนมีสาเหตุใกล้ชิดมาจากไฟไหม้ที่อื่น อันจะได้รับความคุ้มครองทั้งสิ้น
หากคุณยังไม่คล้อยตามนัก ลองดูตัวอย่างเรื่องต่อไปนี้ในคราวหน้ากัน
ถ้าเกิดเหตุจลาจลในจุดหนึ่งของเมือง แล้วในอีกจุดหนึ่ง ก็มีคนร้ายฉวยโอกาสปล้นขโมยของ คุณคิดว่า เหตุการณ์หลังเป็นสาเหตุโดยตรงจากเหตุการณ์แรกไหมครับ?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น