ในกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทุกชนิดสำหรับทรัพย์สินฉบับมาตรฐานของประเทศอังกฤษ
ซึ่งเรียกว่า “Blue Book” ที่ได้เปลี่ยนมาใช้คำว่า “Subsequent DAMAGE (ความเสียหายต่อเนื่อง)” แทน “Ensuing
Loss (ความเสียหายที่ติดตามมา)”
นั้น ปัจจุบันยังมิได้พบคดีพิพาทกันถึงการตีความของความหมายนี้ แต่กลับไปพบคำวินิจฉัยของศาลในประเทศออสเตรเลียแทน
ในคดี Prime Infrastructure (DDCT) Management Pty Ltd v Vero
Insurance Limited [2005] QCA 369 โดย Prime
ผู้เอาประกันภัยได้เอาประกันภัยสิ่งปลูกสร้างกับเครื่องจักรของตนไว้ภายใต้กรมธรรม์ประกันความเสี่ยงภัยทุกชนิดกับ
Vero บริษัทประกันภัย ระหว่างการใช้ตัวกวาด (reclaimer)
เพื่อจะตักกองถ่านหินไปใส่สายพานลำเลียงลงเรือ ตัวกวาดนั้นเกิดพังลงมาทำให้สายพานลำเลียงเสียหายไปด้วย
จากการตรวจสอบ
ทั้งผู้เอาประกันภัยกับบริษัทประกันภัยเห็นพ้องกันว่า ตัวกวาดนั้นพังลงมาด้วยสาเหตุรอยเชื่อมไม่ดี
(defective
weld) ที่ขาข้างหนึ่งของเครื่อง ซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นมาจากฝีมือแรงงานไม่ดี
(faulty workmanship) มาตั้งแต่การก่อสร้าง หรือการติดตั้งเครื่องนี้
และเมื่อใช้งานไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง จึงส่งผลนี้ขึ้นมาในที่สุด ผู้เอาประกันภัยจึงเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้น
แต่บริษัทประกันภัยปฎิเสธความรับผิดเนื่องจากตกอยู่ในสาเหตุที่ยกเว้นภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ที่ระบุว่า
“ไม่คุ้มครองความสูญเสีย
ความวินาศ หรือความเสียหายทางกายภาพ อันเนื่องมาจาก หรือเกิดขึ้นมาจากวัสดุที่บกพร่อง
(faulty
materials) หรือฝีมือแรงงานไม่ดี (faulty workmanship)
ทั้งนี้
โดยมีเงื่อนไขว่า จะไม่มีผลใช้บังคับแก่ความสูญเสีย ความวินาศ หรือความเสียหายที่ต่อเนื่อง
(subsequent)
ต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัย จากภัย (ที่มิได้ระบุยกเว้นเอาไว้เป็นอย่างอื่น)
ซึ่งเป็นผลมาจากเหตุ หรือภัยที่ได้กำหนดไว้ในข้อยกเว้นนี้”
ศาลอุทธรณ์ในประเทศออสเตรเลียวินิจฉัย
ดังนี้
1) ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครอง
สำหรับความเสียหายซึ่งเกิดขึ้นมาจากความเสียหายต่อเนื่อง
อันมีสาเหตุมาจากฝีมือแรงงานไม่ดี
2) เมื่อลักษณะ
และช่วงเวลาของข้อบกพร่องสามารถแยกออกได้จากความเสียหายซึ่งเกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากข้อบกพร่องนั้นเอง
จึงถือเป็น “ความเสียหายต่อเนื่อง (subsequent damage)”
3) หากเกิดความเสียหายต่อเครื่องจักรเมื่อผ่านพ้นช่วงเวลาหนึ่งไปแล้ว
ความเสียหายแรกของตัวเครื่องจักรเองอาจยังคงไม่คุ้มครอง แต่ความเสียหายต่อเนื่องใด
ๆ ต่อตัวเครื่องจักรนั้น (หรือทรัพย์สินที่เอาประกันภัยอื่น)
ก็อาจได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยได้
จากคดีนี้จะเห็นได้ว่า
ศาลตีความของความเสียหายต่อเนื่อง
(Subsequent
Damage) ต้องเป็นเหตุการณ์ที่แยกอิสระจากภัยยกเว้นที่เกิดขึ้นเป็นลำดับแรกเหมือนกับทฤษฏีแรกของความเสียหายที่ติดตามมา (Ensuing Loss)
นั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น