วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

เรื่องที่ 21 : พายุฝนฤดูร้อน - ทั้งลมพายุ ฝนตก ฟ้าผ่า และลูกเห็บเกิดในคราวเดียวกัน ประกันภัยคุ้มครองอย่างไร?

(ตอนที่สอง)

ตอนที่แล้วเราพูดถึงกรณีเหตุการณ์หนึ่งมีภัยเข้ามาเกี่ยวข้องหลายภัย บริษัทประกันภัยจะพิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนกันอย่างไร หากหลายภัยที่เกี่ยวข้องมีทั้งภัยที่คุ้มครอง ภัยที่ยกเว้น และภัยที่ไม่ได้ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยปะปนอยู่ในเหตุการณ์เดียวกันนั้น 

ในการพิจารณา เราจะแทนสัญญลักษณ์ของภัยที่คุ้มครองเป็น A ภัยที่ยกเว้นเป็น B และภัยที่ไม่ได้ระบุไว้เป็น C และนำไปประกอบกับลักษณะของการเกิดเหตุการณ์ทั้งสามลักษณะได้ดังนี้

1) ลักษณะเหตุการณ์ต่อเนื่องไม่ขาดตอนแบบโดมิโน
    ให้พิจารณาจากภัยแรกสุดเป็นเกณฑ์
    ก) ภัยที่คุ้มครองเกิดก่อน ได้แก่
        A + C คุ้มครองทั้งหมด
        A + B คุ้มครองเฉพาะ A
        A + B + C คุ้มครองเฉพาะ A กับ C
    ข) ภัยที่ยกเว้นเกิดขึ้นก่อน
        ไม่ว่าจะตามด้วยภัยอะไรก็ตาม ล้วนไม่คุ้มครองทั้งหมด
    ค) ภัยที่ไม่ได้ระบุเกิดขึ้นก่อน
        C + A คุ้มครองเฉพาะ A หากแยกแยะผลลัพธ์ได้ 
                 ถ้าแยกไม่ได้ คุ้มครองทั้งหมด  
        C + B หรือ C ไม่คุ้มครองทั้งหมด
2) ลักษณะมีภัย หรือเหตุอื่นเข้าสอดแทรก                           
    ถ้าภัย หรือเหตุอื่นที่สอดแทรกไม่ทำให้ผลสุดท้ายเปลี่ยนแปลง
    ไปโดมิโนยังล้มลงตามกันเป็นปกติ ให้ยึดถือภัยแรกสุดเป็น
    เกณฑ์ แต่ถ้าส่งผลกระทบทำให้ผลสุดท้ายเปลี่ยนแปลงไป ให้ยึด
    ถือภัยที่ก่อให้เกิดผลสุดท้ายนั้นเป็นเกณฑ์แทนว่าเป็นภัย A จะคุ้ม
    ครอง หากเป็นภัย B หรือ C ก็ไม่คุ้มครอง    
3) ลักษณะมีหลายภัยเกิดขึ้นในคราวเดียวกัน
    ก) ไม่มีภัยที่ยกเว้นเข้ามาเกี่ยวข้อง ได้แก่
         A + C หรือ C + A  คุ้มครองเฉพาะ A หากแยกแยะผลลัพธ์
                                   ได้ 
                                   ถ้าแยกไม่ได้ คุ้มครองทั้งหมด
    ข) มีภัยที่ยกเว้นเข้ามาเกี่ยวข้อง ได้แก่
        A + B หรือ B + A คุ้มครองเฉพาะ A หากแยกแยะผลลัพธ์ได้ 
                                 ถ้าแยกไม่ได้ ไม่คุ้มครองทั้งหมด
        B + C หรือ C + B ไม่คุ้มครองทั้งหมด
 
ตอนต่อไป เราจะนำตัวอย่างกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยมาประกอบการพิจารณาให้เห็นภาพกัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น