(ตอนที่สาม)
ตอนนี้ เราลองนำความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยทั่วไปมาประกอบการพิจารณา ซึ่งจะให้ความคุ้มครองพื้นฐานสามภัย ดังนี้
"หากทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย เนื่องจาก
1) ไฟไหม้ แต่ไม่รวมถึงความเสียหาย
1.1 จากแรงระเบิด อันเป็นผลมาจากไฟไหม้ เว้นแต่แรง
ระเบิดของแก๊สที่ใช้สำหรับทำแสงสว่าง หรือประโยชน์
เพื่อการอยู่อาศัย
1.2 โดยตรง หรือโดยอ้อมจากแผ่นดินไหว
1.3 ต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัย อันเกิดจาก
1.3.1 การบูดเน่า หรือการระอุตามธรรมชาติ หรือการ
ลุกไหม้ขึ้นเอง เฉพาะที่เกิดจากตัวทรัพย์สินนั้น
เองเท่านั้น หรือ
1.3.2 การที่ทรัพย์สินนั้นอยู่ในระหว่างกรรมวิธีใด ๆ
ซึ่งใช้ความร้อน หรือการทำให้แห้ง
2) ฟ้าผ่า
3) แรงระเบิดของแก๊สที่ใช้สำหรับทำแสงสว่าง หรือประโยชน์
เพื่อการอยู่อาศัยเท่านั้น แต่ไม่รวมถึงความเสียหายจากการระเบิดของแก๊สจากแผ่นดินไหว
4) ความเสียหายเนื่องจากภัยเพิ่มพิเศษ ที่ได้ระบุไว้ชัดเจนในกรมธรรม์ประกันภัย"
ภัยคุ้มครองพื้นฐานทั้งสามภัยในข้อที่ 1), 2) และ 3) แทนค่าด้วย A
ภัยที่ยกเว้นในข้อที่ 1.1, 1.2, 1.3.1 และ 1.3.2 แทนค่าด้วย B
ภัยที่ไม่ได้ระบุไว้ รวมถึงในข้อ 4) ด้วย ได้แก่ ภัยลมพายุ ภัยน้ำท่วม ภัยแผ่นดินไหว ภัยลูกเห็บ ภัยเนื่องจากน้ำ ภัยยวดยาน ภัยอากาศยาน ฯลฯ แทนค่าด้วย C
1) ลักษณะเหตุการณ์ต่อเนื่องไม่ขาดตอนแบบโดมิโน
ก) ภัยที่คุ้มครองเกิดก่อน
เกิดไฟไหม้ (A) ขนทรัพย์สินที่เอาประกันภัยหนี แล้วถูก
ขโมย (C)
คุ้มครองทั้งหมด
เกิดไฟไหม้ (A) ส่งผลทำให้สารเคมีระเบิด (B)
คุ้มครองเฉพาะไฟไหม้
เกิดไฟไหม้ (A) ส่งผลทำให้สารเคมีระเบิด (B)
ขนของหนี แล้วถูกขโมย (C)
คุ้มครองเฉพาะไฟไหม้ กับทรัพย์สินที่เอาประกันภัยซึ่งถูก
ขโมย
ข) ภัยที่ยกเว้นเกิดขึ้นก่อน
ไม่ว่าจะตามด้วยภัยอะไรก็ตาม ล้วนไม่คุ้มครองทั้งหมด
แผ่นดินไหว ทำให้เกิดไฟไหม้ (B) + (A) ดังระบุในข้อ 1.2
เว้นแต่จะเขียนไว้เป็นอย่างอื่น ในข้อ 1.3.1 การระอุทำให้เกิด
ไฟไหม้ ถ้าลามไปถึงทรัพย์สินที่เอาประกันภัยอื่น จะไม่คุ้ม
ครองเฉพาะตัวที่เป็นต้นเหตุ ส่วนที่ลุกลามมาจะได้รับความ
คุ้มครอง
ค) ภัยที่ไม่ได้ระบุเกิดขึ้นก่อน
รถบรรทุกพุ่งชนร้านค้า (C) เกิดระเบิด (C) ทำให้เกิดไฟไหม้
(A)
ร้านค้าที่เอาประกันภัย คุ้มครองเฉพาะส่วนที่ถูกไฟไหม้
ส่วนที่ถูกระเบิดไม่คุ้มครอง แต่ถ้าแยกส่วนที่ถูกระเบิดไม่
ได้ เพราะถูกไฟไหม้ทั้งหมด ก็คุ้มครองทั้งหมด
รถบรรทุกพุ่งชนร้านค้า (C) เกิดระเบิด (C) แต่ไม่มีไฟไหม้
ร้านค้านั้นไม่ได้รับความคุ้มครอง
2) ลักษณะมีภัย หรือเหตุอื่นเข้าสอดแทรก
เกิดไฟไหม้ (A) ขนทรัพย์สินที่เอาประกันภัยหนี แล้วถูกรถยนต์
คันอื่นวิ่งมาชนทรัพย์สินนั้น (C)
ความเสียหายจากรถชนนั้นเป็นเหตุอื่นที่เข้ามาสอดแทรก และ
เป็นผลโดยตรงจากการถูกรถชน มิใช่มีต้นเหตุต่อเนื่องมาจาก
ไฟไหม้ เว้นแต่รถคันนั้นเป็นรถที่เข้ามาช่วยดับเพลิง หรือช่วย
ขนของหนี
3) ลักษณะมีหลายภัยเกิดขึ้นในคราวเดียวกัน
ก) ไม่มีภัยที่ยกเว้นเข้ามาเกี่ยวข้อง
พายุฤดูร้อน (C) ทำให้ฝนตก (C) ฟ้าผ่า (A) และลูกเห็บตก
(C)
ร้านค้าที่เอาประกันภัยได้รับความคุ้มครองเฉพาะฟ้าผ่าเท่า
นั้น
ข) มีภัยที่ยกเว้นเข้ามาเกี่ยวข้อง
พายุฤดูร้อน (C) ทำให้ฝนตก (C) น้ำฝนเอ่อล้นจากรางน้ำไหล
เข้าข้างใน (B)
ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยภายในบ้านที่เอาประกันภัยซึ่งได้รับ
ความเสียหายจากน้ำฝน แม้บ้านจะคุ้มครองทั้งภัยลมพายุ
และภัยเนื่องจากน้ำก็ตาม แต่ตัวบ้านมิได้รับความเสียหาย
จากลมพายุจนทำให้น้ำฝนไหลเข้าไปได้ ทั้งภายใต้ภัยเนื่อง
จากน้ำระบุคุ้มครองเฉพาะกรณีน้ำฝนที่ไหลผ่านเข้าไปภายใน
อาคารจากการเสียหายของหลังคา หน้าต่าง ประตู วงกบ
ประตูหน้าต่าง ช่องลม ช่องรับแสงสว่าง ท่อน้ำ หรือรางน้ำ
เท่านั้น นั่นหมายความว่า หากรางน้ำมิได้เสียหาย จึงถือเป็น
กรณียกเว้น อันส่งผลทำให้ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยภายใน
บ้านหลังนั้น จึงไม่ได้รับความคุ้มครองดังกล่าว
แนวทางวิเคราะห์หลักสาเหตุใกล้ชิดนี้ คงช่วยทำให้สามารถนำไปใช้ประกอบการพิจารณาได้บ้าง แต่ทั้งนี้ คงขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เงื่อนไขที่ระบุในกรมธรรม์ประกันภัยแต่ละฉบับ และมุมมองในการตีความของศาล ซึ่งอาจส่งผลทำให้ได้ผลสรุปที่แตกต่างกันไปได้ เพราะกระทั่งในต่างประเทศ ก็ยังมีคดีข้อพิพาทกันอยู่ไม่มีที่สิ้นสุด
ขอบคุณครับ
ตอบลบยินดีครับ
ตอบลบ