วันอังคารที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2566

เรื่องที่ 187 : การนับวันเวลาสำคัญไฉน?

 

(ตอนที่หนึ่ง)

 

ผ่านเรื่องหนัก ๆ มาหลายตอนแล้ว

 

ครั้งนี้ ลองมาอ่านเรื่องเบา ๆ กันบ้าง

 

แต่ไม่มั่นใจเหมือนกันว่า เรื่องมันจะเบาดังว่าจริงไหม?

 

เคยหยิบยกตัวอย่างคดีศึกษาต่างประเทศในประเด็นเรื่องการนับวันมาล่าสู่กันฟังนานมาแล้ว

 

ล่าสุด ก็มีอีกคดีหนึ่งบังเกิดขึ้น

 

ได้เคยตั้งตัวอย่างคำถามไว้นับแต่คราวโน้น

 

สมมุติ ผู้เอาประกันภัยกับบริษัทประกันภัยได้ตกลงกันทำสัญญาประกันภัย เมื่อเวลา 10.00 น. โดยให้กรมธรรม์ประกันภัยมีกำหนดระยะเวลาประกันภัยอยู่ที่หนึ่งปี นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป

 

1) กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ภาคสมัครใจ

 

จะถูกระบุไว้ในหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัยว่า

 

เริ่มต้นวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 สิ้นสุดวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 16.30 น.

 

(ไม่ปรากฏช่องให้เติมเวลาเริ่มต้นเลย อาจก่อให้เกิดข้อพิพาทขึ้นมาได้ง่าย ถ้ารถยนต์คันที่เอาประกันภัยเกิดอุบัติเหตุ ณ เวลา 10.30 น. ของวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 นี่ยังไม่พูดถึงเงื่อนไขบังคับก่อนที่ให้ชำระเบี้ยประกันภัยแล้วถึงจะได้รับความคุ้มครองเลยนะครับ)

 

2) กรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน

 

จะถูกระบุไว้ในหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัยว่า

 

เริ่มวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 10.00 น. สิ้นสุดวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 16.30 น.

 

3) กรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก

 

จะถูกระบุไว้ในหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัยว่า

 

เริ่มต้นวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 10.00 น. สิ้นสุดวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 16.30 น.

 

ในข้อ 2) กับ 3) คุณคิดว่า

 

- ระยะเวลาเอาประกันภัยเป็นหนึ่งปีจริงไหม? และ

 

- ผู้เอาประกันภัยควรต้องชำระเบี้ยประกันภัย สำหรับกำหนดระยะเวลาหนึ่งปี หรือมากกว่านั้น?

 

หากเปลี่ยนโจทย์ให้เวลาทำสัญญาประกันภัยเป็นเวลา 16.45 น. แทน ก่อนบริษัทประกันภัยปิดทำการ ณ เวลา 17.00 น.

 

คำถามข้างต้นก็กลับกลายเป็นตรงกันข้าม

 

- ระยะเวลาเอาประกันภัยเป็นหนึ่งปีจริงไหม? และ

 

- ผู้เอาประกันภัยควรต้องชำระเบี้ยประกันภัย สำหรับกำหนดระยะเวลาหนึ่งปี หรือน้อยกว่านั้น?

 

เมื่อได้มีการตกลงกันเป็นพิเศษในเรื่องการนับวันเวลาของระยะเวลาประกันภัย ซึ่งตามตัวอย่างข้างต้น เสมือนหนึ่งให้นับครบรอบยี่สิบสี่ชั่วโมงเป็นหนึ่งวันตั้งแต่เวลาเริ่มต้นระยะเวลาประกันภัยเป็นเกณฑ์ (อาจขาดเหลือบ้างเล็กน้อย)

 

แล้วเงื่อนไขเวลาอื่น ๆ ที่ปรากฏอยู่ในกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนั้น ๆ ล่ะ

 

เป็นต้นว่า

 

1) กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ภาคสมัครใจ

 

ภายใต้หมวดการคุ้มครองรถยนต์สูญหายไฟไหม้ ข้อที่ 2.1.2 ในกรณีรถยนต์คันที่เอาประกันภัยได้สูญหายไป และต่อมาติดตามกลับคืนมาได้ ให้ผู้เอาประกันภัยซึ่งได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้วมีสิทธิเลือกที่จะสละสิทธิไม่ขอรับรถยนต์คันนั้นกลับคืนไปก็ได้ โดยที่ผู้เอาประกันภัยนั้นจะต้องแจ้งการใช้สิทธิเช่นว่านั้นให้บริษัทประกันภัยทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการติดตามรถคืนมาได้จากบริษัทประกันภัยแล้ว ถ้าผู้เอาประกันภัยนั้นไม่แจ้งขอใช้สิทธิภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าผู้เอาประกันภัยนั้นไม่ประสงค์จะขอรับรถยนต์คืน

 

2) กรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน

 

ในหมวดเงื่อนไขทั่วไป กำหนดว่า

 

9. การระงับไปแห่งสัญญาประกันภัย ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้เป็นอันระงับไปทันทีเมื่อ : -

 

     9.1 ………………

 

       9.5 ผู้เอาประกันภัยไม่ชำระเบี้ยประกันภัย เมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันเริ่มต้นระยะเวลาเอาประกันภัย โดยให้กรมธรรม์ประกันภัยสิ้นผลนับแต่วันที่ครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว โดยบริษัทจะต้องเคยมีหนังสือแจ้งเตือนให้ผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยประกันภัยก่อนวันครบกำหนดดังกล่าวไม่น้อยกว่า 7 วัน 

 

     ข้อ 9.1 ถึง 9.4 จะได้รับความคุ้มครอง เมื่อผู้เอาประกันภัยได้แจ้งให้บริษัททราบก่อนเกิดความเสียหายขึ้น และบริษัทตกลงยินยอมรับประกันภัยต่อไป ทั้งนี้ บริษัทจะออกใบสลักหลังแนบท้ายไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยนี้

 

2) กรมธรรม์ประกันภัยการปฏิบัติงานตามสัญญาการก่อสร้าง

 

หมวดที่ 2 เงื่อนไขทั่วไป ระบุว่า

 

4.  การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ในกรณีเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ที่อาจจะก่อให้เกิดการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยนี้ ผู้เอาประกันภัยจะต้องดำเนินการดังนี้

 

      4.1 แจ้งให้บริษัททราบโดยไม่ชักช้า และนำส่งรายละเอียดและหลักฐานทั้งหลาย ในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ภายใน 30 วันนับแต่วันเกิดความเสียหาย เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยมีเหตุอันสมควรไม่อาจกระทำการดังกล่าว ภายในระยะเวลาที่กำหนด

 

ควรจะต้องถูกนับเช่นไร?

 

- นับไปตามวันเวลาตามข้อตกลงพิเศษนั้นเอง? หรือ

 

- นับไปตามวันเวลาตามบทบัญญัติของกฎหมาย?

 

โดยมีหัวข้อให้เลือก ดังนี้

 

(ก) ครบรอบยี่สิบสี่ชั่วโมงเป็นหนึ่งวันตั้งแต่เวลาเริ่มต้นระยะเวลาประกันภัย

 

(ข) ครบรอบยี่สิบสี่ชั่วโมงเป็นหนึ่งวันตามปีปฏิทิน

 

(ค) ครบรอบหนึ่งวันตามช่วงระยะเวลาทำการของบริษัทประกันภัย

     (ปกติอยู่ระหว่างเวลา 08.30 น. ถึง 17.00 น. ของวันจันทร์ถึงวัน

     ศุกร์)

 

คุณจะเลือกข้อใดข้างต้นเป็นคำตอบของคุณครับ?

 

แล้วคอยไปพิจารณาเทียบเคียงกับตัวอย่างคดีศึกษาในคราวหน้ากันครับ

 

บริการ

 

-     รับบรรยายให้ความรู้ด้านประกันวินาศภัย

-     รับแปลเอกสารกรมธรรม์ประกันภัย (อังกฤษเป็นไทย)

สนใจติดต่อ vivatchai.amornkul@gmail.com ต่างกัน

 

อ่านบทความอีกชุดที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ใน พบ-ป(ร)ะ-กัน(ภัย): เป็นเรื่อง เป็นราว ใน Facebook Meet Insurance ที่ https://www.facebook.com/pomamornkul/  

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น