เรื่องที่ 114: ธนาคาร
หรือศูนย์การค้าจำต้องรับผิดตามกฎหมายหรือเปล่าที่มีโจรเข้าไปจี้ปล้น?
(ตอนที่หก)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วางหลักเรื่องละเมิดไว้ในมาตรา
420 ว่า บุคคลมีความผิดฐานละเมิด หากได้กระทำการหรือละเว้นกระทำการใด
อันเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายต่อบุคคลอื่น ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือโดยประมาทเลินเล่อ
จนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นนั้นได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ
สิทธิ หรือทรัพย์สิน
ฉะนั้น
การกระทำละเมิดจึงเป็นกรณีเฉพาะบุคคล แต่อาจจำต้องรับผิดจากการกระทำของบุคคลอื่นได้
ในกรณีที่มีความสัมพันธ์พิเศษระหว่างกันเฉพาะตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้น เป็นต้นว่า
กรณีนายจ้างกับลูกจ้าง กรณีตัวการกับตัวแทน กรณีพ่อแม่กับลูก ครูกับนักเรียน
โดยหลักการทั่วไป
บุคคลใดจึงไม่ควรต้องมารับผิดแทนจากการกระทำละเมิดของคนร้าย เว้นแต่จะสามารถพิสูจน์ให้เห็นเป็นอย่างอื่นได้อย่างชัดแจ้ง
เช่น มีหน้าที่ตามสัญญา เป็นผลโดยตรงจากอุบัติเหตุที่บุคคลนั้นก่อให้เกิดขึ้นมา
เป็นต้น
ลองพิจารณาดูจากแนวคำพิพากษาดังต่อไปนี้กันนะครับ
1) แนวทางไม่จำต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
5738/2552
จำเลยที่ 2 รับมอบสินค้าพิพาทซึ่งบรรจุอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์
เมื่อเวลา 23 นาฬิกา การที่จำเลยที่ 2 ให้รถยนต์บรรทุกสินค้าพิพาทออกเดินทางในเวลากลางคืนต่อเนื่องจากเวลาที่รับมอบสินค้าพิพาท
โดยพนักงานขับรถของจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์บรรทุกสินค้าพิพาทไปตามทางหลวงซึ่งจัดไว้เป็นทางสัญจรสาธารณะ
ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ประกอบการขนส่งด้วยความระมัดระวังตามสมควรแล้ว
การที่สินค้าพิพาทสูญหาย เพราะถูกโจรกรรมในระหว่างสัญจรบนทางหลวง จึงเป็นเหตุสุดวิสัยที่จำเลยที่
2 จะป้องกันขัดขวางได้ และกรณีเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้
แม้จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่
2 ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ
มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3220/2553
นิติบุคคลอาคารชุดจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่รักษาทรัพย์ส่วนบุคคล ทั้งการละเว้นไม่กระทำในสิ่งที่กฎหมายไม่ได้บัญญัติให้กระทำหรือตนไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องกระทำก็ไม่เป็นละเมิด
การที่พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 มิได้ใช้ความระมัดระวังดูแลตรวจตราอาคารชุดโดยใกล้ชิด
จึงเป็นเหตุให้คนร้ายเข้าไปลักทรัพย์ในห้องชุดของโจทก์ จะถือเกิดจากการที่จำเลยที่
1 งดเว้นหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่นั้นไม่ได้ จำเลยที่ 1
จึงไม่ต้องรับผิดฐานต่อโจทก์ฐานละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 455/2554
ผู้ถูกฟ้องคดี (นายกองค์การบริหารส่วนตำบล)
ได้มีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดี (ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล) อยู่เวรยามในวันที่ 25 ตุลาคม
2545 ตั้งแต่เวลา 16.30 นาฬิกา ถึงเวลา
08.30 นาฬิกาของวันที่ 26 ตุลาคม 2545
แต่ปรากฏว่าเวลาประมาณ 1 นาฬิกา ได้มีคนร้ายทำการโจรกรรมรถยนต์ขององค์การบริหารส่วนตำบล
ซึ่งจอดไว้ในบริเวณที่ทำการขององค์การบริหารส่วนตำบลไป ต่อมา ผู้ถูกฟ้องคดีได้มีคำสั่งลงวันที่
4 มกราคม 2548 เรียกให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน
134,610 บาท ตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือยื่นอุทธรณ์ แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่าผู้ฟ้องคดีต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
ผู้ฟ้องคดีจึงฟ้องขอให้ศาลปกครองมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว
มีข้อกฎหมายสำคัญ คือ พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 10 ซึ่งวางหลักเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ได้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐว่า หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยจะต้องคำนึงถึงระดับความร้ายแรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรมในแต่ละกรณี และความผิดหรือบกพร่องของหน่วยงานรัฐหรือระบบการดำเนินงานส่วนรวมประกอบด้วย
คดีนี้ผู้ถูกฟ้องคดีโต้แย้งว่า ด้วยการที่ผู้ฟ้องคดีจอดรถยนต์ขวางโรงจอดรถยนต์ ทำให้ไม่สามารถนำรถยนต์ที่สูญหายเก็บเข้าไว้ได้ตามปกติ และการที่ไม่ได้เก็บรักษารถยนต์ไว้ในโรงเก็บรถยนต์เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้รถยนต์ถูกโจรกรรมไป
มีข้อกฎหมายสำคัญ คือ พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 10 ซึ่งวางหลักเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ได้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐว่า หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยจะต้องคำนึงถึงระดับความร้ายแรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรมในแต่ละกรณี และความผิดหรือบกพร่องของหน่วยงานรัฐหรือระบบการดำเนินงานส่วนรวมประกอบด้วย
คดีนี้ผู้ถูกฟ้องคดีโต้แย้งว่า ด้วยการที่ผู้ฟ้องคดีจอดรถยนต์ขวางโรงจอดรถยนต์ ทำให้ไม่สามารถนำรถยนต์ที่สูญหายเก็บเข้าไว้ได้ตามปกติ และการที่ไม่ได้เก็บรักษารถยนต์ไว้ในโรงเก็บรถยนต์เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้รถยนต์ถูกโจรกรรมไป
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมให้การรับสารภาพว่า
มีการเตรียมการแบ่งหน้าที่กันทำ รถยนต์จอดอยู่บริเวณข้างโรงจอดรถภายในที่ทำการ มีการปิดล็อดประตูรถยนต์และประตูรั้ว
การที่รถยนต์สูญหายเกิดจากคนร้ายจำนวน 6 คน
ได้โจรกรรมรถยนต์ โดยใช้ไขควงปากแบนถอดกระจกด้านหลังคนขับ ปลดล็อคประตูรถยนต์และพวงมาลัย
และใช้ไขควงขนาดใหญ่งัดประตูรั้วทางเข้าออกช่องที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล และทำการต่อสายไฟตรง
ขับรถออกไปขายประเทศเพื่อนบ้าน โดยลักษณะการกระทำของคนร้ายได้ร่วมกันเป็นแก๊งลักรถยนต์
มีการแบ่งหน้าที่กันทำ มีการเตรียมการเป็นอย่างดี และได้ร่วมกันโจรกรรมรถยนต์มาแล้วหลายคัน
จึงรับฟังได้ว่าผู้ต้องหาซึ่งมีจำนวนมาก มีความเชี่ยวชาญในการโจรกรรมรถยนต์ มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า
แม้ว่าในคืนเกิดเหตุผู้ปฏิบัติหน้าที่เวรยามจะนอนอยู่ภายในที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล
ก็เป็นการยากที่จะป้องกันมิให้รถยนต์ถูกโจรกรรมไป เนื่องจากในสภาวะเช่นนั้นกลุ่มผู้ต้องหาสามารถจะทำร้ายผู้ที่ขัดขวางการโจรกรรมได้ตลอดเวลา
ดังนั้น หากผู้ฟ้องคดีจะอยู่เวรในคืนเกิดเหตุ ก็ไม่อาจยืนยันได้แน่ชัดว่าจะสามารถป้องกันไม่ให้มีการโจรกรรมรถยนต์ไปได้
และพยานหลักฐานยังรับฟังไม่ได้ว่า ผู้ฟ้องคดีมีพฤติการณ์ตามที่ผู้ถูกฟ้องคดีโต้แย้ง และแม้ว่าจะจอดรถยนต์ไว้ในสถานที่จอดรถยนต์ แต่เมื่อพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ของผู้ต้องหาที่ทำการโจรกรรมรถยนต์ ยังรับฟังไม่ได้ว่า รถยนต์จะไม่ถูกโจรกรรมโดยเด็ดขาด จึงยังรับฟังไม่ได้ว่า ผู้ฟ้องคดีกระทำการด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เป็นผลให้รถยนต์ขององค์การบริหารส่วนตำบลถูกโจรกรรม
ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่องค์การบริหารส่วนตำบลตามมาตรา 10 ประกอบมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 จึงพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดี
และพยานหลักฐานยังรับฟังไม่ได้ว่า ผู้ฟ้องคดีมีพฤติการณ์ตามที่ผู้ถูกฟ้องคดีโต้แย้ง และแม้ว่าจะจอดรถยนต์ไว้ในสถานที่จอดรถยนต์ แต่เมื่อพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ของผู้ต้องหาที่ทำการโจรกรรมรถยนต์ ยังรับฟังไม่ได้ว่า รถยนต์จะไม่ถูกโจรกรรมโดยเด็ดขาด จึงยังรับฟังไม่ได้ว่า ผู้ฟ้องคดีกระทำการด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เป็นผลให้รถยนต์ขององค์การบริหารส่วนตำบลถูกโจรกรรม
ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่องค์การบริหารส่วนตำบลตามมาตรา 10 ประกอบมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 จึงพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดี
(อ้างอิงและเรียบเรียงมาจาก เรื่องเล่า ... คดีปกครอง เปิดปมคิด พิชิตปมปัญหา
by ลุงเป็นธรรม เล่ม
2, สำนักวิจัยและวิชาการ
สำนักงานศาลปกครอง :
สิงหาคม 2556)
2) แนวทางจำต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 878/2544
จำเลยทำสัญญาบริการรักษาความปลอดภัยกับบริษัท อ. โดยยินยอมชำระค่าเสียหายให้แก่บริษัท อ. ในกรณีที่ทรัพย์สินสูญหายเนื่องจากการโจรกรรม ดังนั้น เมื่อทรัพย์สินของบริษัท อ. สูญหายไปเนื่องจากการโจรกรรม จำเลยจึงต้องรับผิดต่อบริษัท อ. ตามสัญญา เมื่อทรัพย์สินที่สูญหายเป็นทรัพย์สินที่บริษัท อ. ได้เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ และโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัท อ. ไปแล้ว จึงเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัท อ. เรียกร้องเอาจากจำเลยตามสัญญาบริการรักษาความปลอดภัยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880
จำเลยทำสัญญาบริการรักษาความปลอดภัยกับบริษัท อ. โดยยินยอมชำระค่าเสียหายให้แก่บริษัท อ. ในกรณีที่ทรัพย์สินสูญหายเนื่องจากการโจรกรรม ดังนั้น เมื่อทรัพย์สินของบริษัท อ. สูญหายไปเนื่องจากการโจรกรรม จำเลยจึงต้องรับผิดต่อบริษัท อ. ตามสัญญา เมื่อทรัพย์สินที่สูญหายเป็นทรัพย์สินที่บริษัท อ. ได้เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ และโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัท อ. ไปแล้ว จึงเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัท อ. เรียกร้องเอาจากจำเลยตามสัญญาบริการรักษาความปลอดภัยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5763/2541
รถยนต์โดยสารของโจทก์ได้เกิดอุบัติเหตุมีผู้โดยสารตกจากรถของโจทก์
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีฐานะเป็นผู้ช่วยพนักงานสอบสวน
ได้กระทำการโดยนำรถคันที่เกิดเหตุมาจอดไว้ที่ริมถนนหน้าสถานีตำรวจ เพื่อมิให้กีดขวางทางจราจรตามคำสั่งของพนักงานสอบสวน
ต่อมาอุปกรณ์ในรถของโจทก์สูญหายในขณะอยู่ในความครอบครองดูแลของพนักงานสอบสวน เหตุละเมิดซึ่งทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายได้เกิดขึ้นแล้ว
หากแต่มิได้เกิดขึ้นในขณะอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 แต่เกิดขึ้นในขณะอยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวน
การที่พนักงานสอบสวนมีคำสั่งยึดรถเนื่องจากรถที่สั่งยึดเกิดอุบัติเหตุ จึงเป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ในฐานะผู้แทนของจำเลยที่
2 เมื่อพนักงานสอบสวนนำรถไปจอดอยู่ที่ฝั่งตรงข้ามสถานีตำรวจ โดยมิได้จัดให้มีผู้ดูแลรักษาตามสมควร
เป็นเหตุให้อุปกรณ์ในรถสูญหายไปบางส่วน จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม
ป.พ.พ. มาตรา 76 ไม่ว่าผู้แทนของโจทก์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายนั้นจะเป็นจำเลยที่
1 หรือพนักงานสอบสวน จำเลยที่ 2 ก็ปฏิเสธความรับผิดไม่ได้
ข้อสังเกต
กรณีที่คนร้ายเข้าไปจี้ชิงทรัพย์
แนวทางคำพิพากษาศาลต่างประเทศกับไทยไม่ใคร่แตกต่างกัน
แต่ถ้ากรณีที่คนร้ายเข้าไปทำร้ายต่อชีวิต ร่างกายของบุคคลอื่นภายในสถานที่
ศาลต่างประเทศจะค่อนข้างเข้มในการพิสูจน์ให้ศาลนั้นยอมรับฟังได้ว่า เจ้าของสถานที่แห่งนั้นมีความผิดฐานประมาทเลินเล่อ
หรือมีส่วนประมาทเลินเล่อในการดูแลรักษาความปลอดภัยจริง
ซึ่งโอกาสที่ผู้เสียหายจะชนะคดีลำบากมาก อยากจะเชื่อว่า
ศาลไทยคงวางแนวทางไม่แตกต่างกัน แต่ถ้าสัญญาว่าจ้างเหมาให้บริการรักษาความปลอดภัยระบุขอบเขตอย่างชัดเจนให้ดูแลความปลอดภัยต่อชีวิตของผู้ว่าจ้างกับพนักงานด้วยแล้ว
เช่นนี้ตัวพนักงานของผู้ว่าจ้างอาจมีโอกาส สำหรับบุคคลอื่นที่เข้าไปในสถานที่แห่งนั้น
คงต้องเหนื่อยมากเช่นเดิมในการที่จะพิสูจน์
ตอนหน้าจะเป็นแนวทางคำพิพากษาศาลต่างประเทศเรื่องการประกันภัยไซเบอร์
(Cyber Insurance Dispute) ตามคำร้องขอครับ
บริการ
- รับบรรยายให้ความรู้ด้านประกันวินาศภัย
-
รับแปลเอกสารกรมธรรม์ประกันภัย (อังกฤษเป็นไทย)
สนใจติดต่อ vivatchai.amornkul@gmail.com
อ่านบทความอีกชุดที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ใน พบ-ป(ร)ะ-กัน(ภัย):
เป็นเรื่อง เป็นราว ใน Facebook Meet Insurance ที่
https://www.facebook.com/pomamornkul/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น