เรื่องที่ 82:ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน (Thrombosis) ถือเป็นอุบัติเหตุหรือไม่?
วันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 2000 นักท่องเที่ยวชาวออสเตรเลียอายุ 36 ปีรายหนึ่งเกิดอาการวูบสิ้นสติไปขณะอยู่ที่สนามบินชางฮี
ประเทศสิงค์โปร และได้สิ้นใจลงภายหลังจากถูกนำส่งโรงพยาบาลใกล้เคียงในเวลาไม่นาน
ผลการชันสูตรพลิกศพและใบมรณบัตรระบุสาเหตุการตายเนื่องจากภาวะลิ่มเลือดทำให้เส้นเลือดถึงขนาดแตกและตกเลือด
ลิ่มเลือดเข้าไปอุดตันจนเกิดอาการหลอดเลือดหัวใจตีบ (Coronary Artery) และกล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial
Infarction)
ท้ายที่สุด
ผู้ตายเคยมีประวัติตรวจพบอาการหลอดเลือดแดงแข็งตัวมาก่อนหน้านั้นหลายปีแล้ว
ก่อนออกเดินทางออกนอกประเทศ ผู้ตายก็เคยถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลอย่างฉุกเฉินจากอาการเจ็บหน้าอกในเดือนกุมภาพันธ์ปีเดียวกันมาแล้วถึงสองครั้ง
แต่เมื่อตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจด้วยเครื่อง ECG ผลออกมาปกติ
ภรรยาของผู้ตายได้ทำการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลจากบริษัทประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ตาย
แต่ได้รับการปฏิเสธ จึงได้นำคดีขึ้นสู่ศาลในเวลาต่อมา
ศาลชั้นต้นได้วิเคราะห์ประเด็นข้อพิพาทว่า
การเสียชีวิตของผู้เอาประกันภัยเกิดจากความบาดเจ็บ (Injury) อันจะได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้หรือไม่?
คำนิยามของความบาดเจ็บกำหนดว่า
“ความบาดเจ็บ
หมายความถึง
ความบาดเจ็บทางร่างกายซึ่งเป็นผลมาจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นแก่ผู้เอาประกันภัยในระหว่างระยะเวลาประกันภัย
และได้ส่งผลตามที่ได้กำหนดไว้ในตารางผลประโยชน์ภายในระยะเวลา 12 เดือนนับแต่วันที่เกิดความบาดเจ็บนั้นเอง
ทั้งนี้ไม่รวมถึง
ก)
ผลสืบเนื่องจากความบาดเจ็บซึ่งโดยปกติแล้วถือว่าเกิดจากความเจ็บป่วย
ข)
ผลต่อเนื่องจากความบาดเจ็บที่เคยเป็นอยู่ก่อนแล้ว เว้นเสียแต่เกิดจากอุบัติเหตุครั้งใหม่ที่แยกต่างจากกัน”
ศาลชั้นต้นเห็นว่า คำว่า “อุบัติเหตุ”
นั้นหมายความถึง สิ่งที่เกิดขึ้นโดยมิได้เจตนา หรือมุ่งหวัง
โดยไม่จำเป็นจะต้องเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นนอกร่างกายเท่านั้น อาจเกิดขึ้นภายในก็ได้
ทั้งไม่จำต้องเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง และเห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งการฉีกขาดที่เส้นเลือดของผู้เอาประกันภัยอันเป็นสาเหตุการเสียชีวิตนั้นมิใช่อุบัติเหตุที่จะส่งผลทำให้ได้รับความคุ้มครองได้
ถึงแม้เป็นสิ่งที่ผู้เอาประกันภัยมิได้เจตนา หรือมุ่งหวังก็ตาม
ภรรยาผู้รับประโยชน์ของผู้เอาประกันภัยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า
ผู้ตายเคยมีประวัติอาการโรคหลอดเลือดแข็งตัวอย่างรุนแรง (Severe Coronary Atherosclerosis) มาก่อนหน้านั้นแล้ว ฉะนั้น โอกาสการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน และการฉีกขาดของเส้นเลือดของผู้เอาประกันภัยมีค่อนข้างสูง
โดยไม่ปรากฏหลักฐานอื่นที่แสดงว่ามีสิ่งอื่นใดมากระทำต่อตัวผู้เอาประกันภัยเลย
นอกจากสภาพภาวะความเจ็บป่วยทางร่างกายของผู้เอาประกันภัยเอง
ทั้งศาลอุทธรณ์ยังได้วิเคราะห์เพิ่มเติมอีกว่า
ไม่เข้าข้อยกเว้นข้อ ข) ของคำนิยามความบาดเจ็บซึ่งระบุไม่รวมถึง “ผลต่อเนื่องจากความบาดเจ็บ
ที่เคยเป็นอยู่ก่อนแล้ว (pre-existing injuries)” เพราะไม่มีหลักฐานระบุว่า
อาการกล้ามเนื้อหัวใจตายของผู้เอาประกันภัยในช่วงที่เสียชีวิตเป็นผลต่อเนื่องมาจากภาวะลิ่มเลือดอุดตันก่อนหน้านั้น
อนึ่ง ข้อยกเว้นนี้มิได้เขียนถึง “ผลต่อเนื่องจากความเจ็บป่วยที่เคยเป็นมาก่อน
(pre-existing
diseases)” แต่ประการใด
แม้การตายของผู้เอาประกันภัยเป็นสิ่งที่มิได้เจตนาหรือคาดหวัง
แต่มิได้อยู่ในความหมายของอุบัติเหตุที่บุคคลโดยทั่วไปพึงเข้าใจได้
บริษัทประกันภัยจึงไม่จำต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้
(อ้างอิงจากคดี Pass
v Gerling Australia Insurance Company Pty Ltd [2011] WASCA 93)
ข้อสังเกต
กรมธรรม์ประกันภัยฉบับที่พิพาทนี้มิได้กำหนดคำนิยาม
“อุบัติเหตุ” เอาไว้ ศาลจึงตีความตามความเข้าใจของคนทั่วไปเป็นเกณฑ์
สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลกับกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุเดินทางของบ้านเรามีคำนิยามกำหนดไว้ว่า
“อุบัติเหตุ” หมายถึง “เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน
จากปัจจัยภายนอกร่างกายและทำให้เกิดผลที่ผู้เอาประกันภัยมิได้เจตนาหรือมุ่งหวัง”
เชื่อว่า ศาลบ้านเราก็คงไม่น่าวินิจฉัยแตกต่างไปจากนี้
แม้ถ้อยคำเสมือนหนึ่งให้มองผลลัพธ์ที่เป็นอุบัติเหตุ (Accidental
Death/Result) เป็นเกณฑ์
เหมือนอย่างที่ภรรยาของผู้ตายในคดีดังกล่าวได้ตั้งประเด็นข้อต่อสู้เอาไว้
เรื่องต่อไป
ผู้เอาประกันภัยเกิดอาการเนื้อนอกในสมองกำเริบจนหมดสติขณะขับรถ
และประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตคารถ เป็นอุบัติเหตุที่จะได้รับความคุ้มครองหรือไม่?
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ใน พบ-ป(ร)ะ-กัน(ภัย):
เป็นเรื่อง เป็นราว ใน Facebook Meet Insurance ที่
https://www.facebook.com/pomamornkul/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น