เรื่องที่ 65: ผู้โดยสารติดเชื้อโรคจากในรถ ถือเป็นอุบัติเหตุ
อันเกิดขึ้นเนื่องจากการใช้รถยนต์หรือไม่?
(ตอนที่หนึ่ง)
ในเรื่องที่ 64 ที่ผ่านมา
ลืมบอกไปว่า อ้างอิงมาจากคดี Scott
v State Farm Mut Auto Ins
Co, 278 Mich App 578, 586-587; 751. NW2d 51 (2008)
นะครับ
สำหรับเรื่องนี้ ถือเป็นคดีตัวอย่างที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ
ซึ่งเห็นว่า น่าสนใจ เผื่ออาจเกิดเป็นข้อพิพาทขึ้นมาในบ้านเราก็ได้
เรื่องราวมีดังนี้ครับ
คณะดนตรีของโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งได้ว่าจ้างรถบัสพร้อมคนขับ
เพื่อเดินทางไปท่องเทียวยังต่างเมือง ระหว่างเดินทาง ผู้โดยสารสังเกตุเห็นคนขับจะส่งเสียงไอไปเกือบตลอดทาง
เมื่อกลับมาแล้ว ปรากฏว่า คนขับต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล
ซึ่งแพทย์ได้ตรวจพบอาการติดเชื้อวัณโรค (Active Tuberculosis) โดยที่ตัวคนขับนั้นมิได้รู้มาก่อนว่า ตนเองมีเชื้อวัณโรคแอบแฝงอยู่ในร่างกาย
(Latent Tuberculosis) ระยะหนึ่งแล้ว
แต่เพิ่งมาแสดงอาการ
เนื่องจากโรคนี้สามารถติดต่อถึงกันได้ทางลมหายใจ
จึงได้มีการเรียกตัวผู้โดยสารทุกคนเข้ามาทำการตรวจหาผู้ติดเชื้อโรคนี้ ซึ่งผู้โดยสารหลายคนปรากฏผลเป็นบวก
คือ ติดเชื้อวัณโรคแอบแฝงอยู่ยังไม่แสดงอาการ ผู้โดยสารกลุ่มนี้จึงได้ทำการฟ้องร้องให้ทั้งคนขับกับบริษัทรถบัสนั้นต้องรับผิด
โทษฐานกระทำการโดยประมาทเลินเล่อจนทำให้ผู้โดยสารเหล่านั้นได้รับเชื้อวัณโรคดังกล่าว
จากการที่ต้องตกอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปิดดังเช่นในรถบัสคันนั้น
รถบัสคันนี้ได้ทำประกันภัยไว้ภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์
ภาคสมัครใจ บริษัทรถบัสในฐานะผู้เอาประกันภัยจึงได้เรียกร้องให้บริษัทประกันภัยของตนเข้ามารับผิดชอบแทน
ตามเงื่อนไขความคุ้มครองที่ระบุตอนหนึ่งถอดความได้ว่า
“จะทำการชดใช้ความรับผิดตามกฎหมายของผู้เอาประกันภัยที่มีต่อบุคคลภายนอก
อันเนื่องมาจากความบาดเจ็บทางร่างกายของบุคคลภายนอกที่มีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุ
และเป็นผลมาจากการเป็นเจ้าของ การดูแลรักษา หรือการใช้รถยนต์คันที่คุ้มครองนั้น”
โดยมีคำจำกัดความเฉพาะที่สำคัญ
ดังนี้
“อุบัติเหตุ”
หมายความถึง เหตุแห่งความเสี่ยงภัยจากสภาวะเดียวกันที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
หรือซ้ำ ๆ กันจนเป็นเหตุให้เกิดความบาดเจ็บทางร่างกาย หรือความเสียหายต่อทรัพย์สิน
“รถยนต์”
หมายความถึง ยานยนต์ทางบกที่ใช้เพื่อการเดินทางบนถนนสาธารณะ
“ความบาดเจ็บทางร่างกาย”
หมายความถึง ความบาดเจ็บทางร่างกาย ความเจ็บป่วย หรือโรคภัยที่เกิดขึ้นแก่บุคคล
รวมถึงการเสียชีวิตอันเป็นผลมาจากการนั้นด้วย
คุณคิดว่า
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในคดีนี้ เข้าเงื่อนไขความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ฉบับนี้ไหมครับ?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น