(ตอนที่สอง)
ประเด็นข้อพิพาทเรื่องนี้ คือ
1) ผู้เอาประกันภัยมีส่วนได้เสียหรือไม่?
2) ผู้เอาประกันภัยแถลงข้อความเท็จหรือไม่?
ในประเด็นแรก บริษัทประกันภัยให้การว่า ผู้เอาประกันภัยแม้เป็นภรรยาตามกฎหมาย แต่มิได้มีชื่ออยู่ในเอกสารสิทธิของบ้านหลังที่เอาประกันภัย จึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในอันที่จะเอาประกันภัยบ้านหลังนี้ได้
ส่วนประเด็นที่สอง ในใบคำขอเอาประกันภัยทางออนไลน์
ซึ่งคำถามข้อหนึ่งถามว่า “คุณเป็นเจ้าของบ้าน
และพักอาศัยอยู่ในบ้านกับครอบครัวของคุณหรือเปล่า?” ถ้าภรรยาซึ่งขอเอาประกันภัยได้เลือกคำตอบเป็น
“ไม่” ในหน้าเวปก็จะขึ้นคำถามใหม่ให้เลือกว่า
คุณมีส่วนได้เสียอะไรบ้างในทรัพย์สินที่ขอเอาประกันภัย
แต่เนื่องด้วยภรรยานั้นได้เลือกตอบคำถามข้างต้นว่า “ใช่”
บริษัทประกันภัยจึงเข้าใจว่า ภรรยานั้นมีส่วนได้เสียเป็นเจ้าของบ้านหลังนั้นจริง
แท้ที่จริงแล้วกลับไม่ใช่ เพราะในเอกสารสิทธิระบุชื่อสามีเพียงผู้เดียวเท่านั้น
การแถลงข้อความอันเป็นเท็จเช่นนี้
ส่งผลทำให้สัญญาประกันภัยระหว่างภรรยาผู้เอาประกันภัยกับริษัทประกันภัยตกเป็นโมฆียะ
เมื่อบริษัทประกันภัยใช้สิทธิบอกล้าง สัญญาประกันภัยก็ตกเป็นโมฆะตั้งแต่เริ่มต้น
เหตุแห่งความเสียหายของบ้านหลังที่เอาประกันภัยนี้จึงไม่อยู่ในความรับผิดของบริษัทประกันภัยที่จะต้องชดใช้ให้ตามสัญญาประกันภัย
ฝ่ายภรรยาซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยแย้งว่า ในคำถามที่เป็นประเด็นนั้น
จะประกอบด้วยคำถามย่อยสองข้อ คือ คำถามแรก คุณเป็นเจ้าของบ้านหรือไม่? และคำถามที่สอง
คุณพักอาศัยอยู่ในบ้านกับครอบครัวของคุณหรือเปล่า? แต่ในคำตอบกลับมีให้เลือกเพียง “ใช่”
หรือ “ไม่” เท่านั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยเลือกตอบว่า “ไม่”
ดังที่บริษัทประกันภัยกล่าวอ้าง จะกลายเป็นว่า ผู้เอาประกันภัยแถลงข้อความเท็จอยู่ดี
เพราะแม้ผู้เอาประกันภัยจะมิใช่เจ้าของบ้านตามเอกสารสิทธิ
แต่ก็พักอาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้นจริง ๆ
ดังนั้น ไม่ว่าจะเลือกคำตอบใด ล้วนใช้ไม่ได้
คำถามของบริษัทประกันภัยไม่มีความชัดเจน
การมาอาศัยเหตุดังกล่าวมาบอกล้างสัญญาประกันภัยจึงเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
ส่วนประเด็นเรื่องส่วนได้เสียนั้น
แม้ภรรยาจะไม่มีชื่ออยู่ในเอกสารสิทธิ แต่การมาทำประกันภัยก็เป็นการกระทำในฐานะตัวแทนของสามีซึ่งมีชื่ออยู่ในเอกสารสิทธิดังกล่าว
เนื่องจากคู่สามีภรรยาเห็นชอบร่วมกันล่วงหน้าแล้วว่า บ้านหลังนี้ควรจัดทำประกันภัยคุ้มครองไว้
เมื่อศาลได้รับฟังจากคู่ความทั้งสองฝ่ายแล้ว มีความเห็นพ้องกับฝ่ายผู้เอาประกันภัย
และตัดสินให้บริษัทประกันภัยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยตามสัญญาประกันภัย
คดีนี้เป็นอุทาหรณ์แก่บริษัทประกันภัยว่า
การทำประกันภัยทางออนไลน์นั้นควรร่างคำถามคำตอบให้มีความชัดเจนมากกว่านี้
เนื่องจากมิได้มีโอกาสมาพูดคุยซักถามในรายละเอียดกันได้อย่างเช่นการเจอหน้า
หรือพูดคุยโต้ตอบกันทางโทรศัพท์
อ้างอิงจากคดี Gonzales & Barrett v The Hollard Insurance Company
Pty Ltd [2016]
NSWLC 9
คุณได้รับคำตอบเรื่องนี้ตรงตามที่คิดไว้บ้างหรือเปล่าครับ?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น