(ตอนที่สอง)
สำหรับคดีในประเทศแคนาดา เรื่องราวมีอยู่ว่า สุภาพสตรีรายหนึ่งพาลูกสาวติดรถยนต์ไปแวะที่ร้านอาหารแห่งหนึ่ง
โดยเจ้าตัวจอดรถลงไปซื้อ ให้ลูกสาวนั่งรออยู่ในรถ จู่ ๆ
ก็มีคนร้ายกลุ่มหนึ่งขับรถยนต์ผ่านมาจอดตรงด้านหน้าของร้านอาหารแห่งนั้น
แล้วระดมยิงปืนเข้าไปในร้านอาหารแห่งนั้น ปรากฏว่า สุภาพสตรีโชคร้ายรายนี้ถูกกระสุนปืนบริเวณกระดูกสันหลัง
ส่งผลทำให้เกิดภาวะอัมพาตของร่างกายส่วนล่าง
ประเด็นปัญหาก็เช่นเดียวกัน คือ การยิงปืนจากรถยนต์ของคนร้าย
ถือเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจาก “การใช้รถ” หรือไม่?
คดีนี้ ศาลชั้นต้นมีความเห็นว่า การตีความหมายของการใช้รถ
ควรหมายความถึงการนำรถไปใช้ตามปกติทั่วไป มากกว่าที่จะรวมไปถึงการนำรถยนต์ไปใช้ขนอาวุธปืนนำไปยิงทำร้ายคน
และใช้เป็นพาหนะหลบหนี ดังนั้น การยิงปืนจึงถือเป็นเหตุการณ์ที่แยกต่างหากออกมาจากการใช้รถ
ศาลอุทธรณ์แม้จะเห็นว่า การใช้รถไม่น่าจำกัดอยู่เพียงการนำรถไปใช้ตามปกติทั่วไปเท่านั้น
เพราะรถอาจถูกใช้ในทางที่ผิดกฎหมายก็ได้ตราบเท่าที่มิได้ถูกระบุยกเว้นไว้อย่างชัดแจ้งในกรมธรรม์ประกันภัย
แต่ศาลอุทธรณ์ก็เห็นพ้องกับศาลชั้นต้นว่า การใช้รถกับการยิงปืนควรถือเป็นสองเหตุการณ์แยกต่างหากจากกัน
เมื่อผู้ประสบภัยรายนี้ได้รับบาดเจ็บเนื่องจากกระสุนปืน จึงมิใช่เกิดขึ้นมาจากการใช้รถ
(อ้างอิงคดี Russo v. John Doe (2009),
95 O.R. (3d) 138, [2009] O.J. No. 1481)
จากคำพิพากษาของทั้งสองคดี จะเห็นได้ว่า ศาลอาศัยทฤษฎีในการวินิจฉัยที่แตกต่างกัน
ศาลในประเทศสหรัฐพิจารณาจากสาเหตุ ขณะที่ศาลประเทศแคนาดาพิจารณาจากผลที่เกิดขึ้น
แล้วการใช้ความรุนแรงบนท้องถนน (Road
Rage) อันเนื่องมาจากการใช้รถ ใช้ทาง จนนำไปสู่การทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกายกันขึ้นมาล่ะ
ผลทางคดีจะเป็นเช่นไร? อดใจรอในตอนที่สามครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น