(ตอนที่สอง)
ประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้มีเพียงในเรื่องการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยธุรกิจ
สำหรับความเสียหายทางการเงินของผู้เอาประกันภัย
อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความเสียหายของทรัพย์สินที่ได้รับความคุ้มครอง
ซึ่งในฝั่งของผู้เอาประกันภัยเห็นว่า
เข้าเงื่อนไขความคุ้มครองดังระบุไว้ครบถ้วนแล้ว กล่าวคือ
1) ทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัยที่ใช้ในการประกอบธุรกิจที่เอา
ประกันภัยไว้
ได้รับความเสียหายทางกายภาพจากภัยที่คุ้ม
ครอง และบริษัทประกันภัยตกลงชดใช้ให้แล้ว
2) ผลสืบเนื่องจากการนั้น (in consequence thereof) ทำให้
ธุรกิจดังกล่าวของผู้เอาประกันภัยต้องหยุดชะงักลง
3) ผู้เอาประกันภัยได้รับผลกระทบทางเงิน คือ
รายได้ของโรงแรม
ลดลงไปจากเดิมเป็นระยะเวลานับเดือน
กล่าวคือ ผู้เอาประกันภัยมองที่สาเหตุ หรือเหตุการณ์ที่คุ้มครองเป็นหลัก
แต่ฝั่งของบริษัทประกันภัยกลับมองว่า การหยุดชะงักของธุรกิจในอันที่จะได้รับความคุ้มครองนั้น
ต้องเป็นผลสืบเนื่อง (in consequence thereof)
โดยตรงจากความเสียหายทางกายภาพของทรัพย์สินดังกล่าว
กล่าวคือ บริษัทประกันภัยมองไปที่ความเสียหายเป็นหลัก
ศาลชั้นต้นในคดีนี้ พิจารณาประเด็นการตีความของคำว่า “ผลสืบเนื่องจากการนั้น
(in consequence thereof)” อาจสื่อความหมายเป็นได้ทั้ง
ก)
ผลสืบเนื่องจากความสูญเสีย
หรือความเสียหายทางกายภาพ
ของทรัพย์สินนั้น หรือ
ข)
ผลสืบเนื่องจากสาเหตุ
หรือเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสีย
หายดังกล่าวก็ได้
ศาลเห็นว่า ความหมายในข้อ ก) น่าจะสื่อความหมายที่ถูกต้องกว่า
จริงอยู่ที่ธุรกิจได้รับผลกระทบ อันเนื่องจากลูกค้าบางรายไม่ประสงค์ที่จะอุดหนุนโรงแรมอีกต่อไป
ซึ่งกรณีนี้แตกต่างจากการหยุดชะงัก เพราะโรงแรมไม่สามารถประกอบธุรกิจของตนได้อีก
สืบเนื่องมาจากความเสียหายดังกล่าว ความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยหยุดชะงักจะเป็นเรื่องของความไม่สามารถในการประกอบธุรกิจได้อีกต่อไป
มากกว่าจะเป็นเรื่องของการปรับเปลี่ยนทัศนคติ หรือแนวความคิดของลูกค้าที่มีต่อผู้ประกอบการ
ดังนั้น ศาลจึงเห็นพ้องกับฝ่ายบริษัทประกันภัย
ผู้เอาประกันภัยจึงอุทธรณ์คดี โดยมองว่า
ถ้าข้อความอาจสื่อความหมายได้สองนัย ศาลควรใช้หลักการตีความยกประโยชน์ให้แก่ผู้ที่มิได้ร่างสัญญาประกันภัยมากกว่า
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การที่ผู้เอาประกันภัยมองเพียงว่า ภัยที่คุ้มครองทำให้ทรัพย์สินเสียหายทางกายภาพ
โดยไม่คำนึงว่า ความเสียหายทางกายภาพนั้นจะเป็นสาเหตุใกล้ชิด (สาเหตุโดยตรง) ที่ส่งผลทำให้ธุรกิจจำต้องหยุดชะงัก
หรือได้รับผลกระทบหรือไม่ก็ตามนั้น ไม่น่าจะถูกต้อง
ภายหลังเหตุการณ์ ผู้เอาประกันภัยใช้เวลาซ่อมแซมเพียงไม่กี่ชั่วโมงในการทำให้ทรัพย์สินนั้นกลับคืนสู่สภาพดังเดิม
และโรงแรมก็สามารถเปิดดำเนินธุรกิจได้ต่อไปตามปกติในวันเดียวกันนั้นเอง
โรงแรมจึงมิได้หยุดชะงัก หรือได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง ส่วนการลดลงไปของรายได้
ก็มีข้อมูลจากการสืบค้นว่า ส่วนหนึ่งเกิดจากความหวั่นวิตกของลูกค้าบางรายในเรื่องของเหตุจลาจลที่เกิดขึ้น
สำหรับประเด็นในหลักการตีความที่โต้แย้งนั้น ศาลอุทธรณ์พิจารณาว่า เป็นเรื่องที่ผู้เอาประกันภัยตีความไม่ถูกต้อง
มิใช่เป็นเรื่องที่ให้ความหมายเท่าเทียมกันได้สองความหมาย
ในอันที่จะต้องยกประโยชน์ให้แก่ฝ่ายที่เสียประโยชน์แต่ประการใด
ศาลอุทธรณ์จึงเห็นพ้องกับศาลชั้นต้น
ให้บริษัทประกันภัยไม่จำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในส่วนของกรมธรรม์ประกันภัยธุรกิจ
(อ้างอิงคดี McMahons
Tavern Pty Ltd -v- Suncorp Metway Insurance Ltd [2004] SASC 237)
ข้อสรุป
การหยุดชะงัก
หรือการได้รับผลกระทบของธุรกิจที่เอาประกันภัยภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยธุรกิจหยุดชะงักในอันที่จะได้รับความคุ้มครองนั้น
ต้องเป็นผลสืบเนื่องโดยตรงจากความเสียหายทางกายภาพของทรัพย์สินที่ได้รับความคุ้มครองด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น