วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2563

เรื่องที่ 132 : เหตุเกิดที่ปั๊มน้ำมัน

(ตอนที่สอง)

 

บางท่านอาจนึกสงสัยทำไมถึงต้องมานั่งเสียเวลาจำแนกแยกแยะวันต่าง ๆ ออกมาด้วย? ไม่เห็นต้องคิดมากเลย

 

ลองไล่เลียงวันต่าง ๆ ดูเถิดครับ จะเห็นได้ว่าก่อให้เกิดความคิดเห็นแตกต่างกันออกไปอย่างหลากหลาย ผมได้เคยทดลองตั้งคำถามเช่นนี้ขึ้นมาเวลามีโอกาสบรรยายให้ความรู้หลายครั้งหลายหน ทุกครั้งก็ให้ผลออกมาหลากหลายความคิด ยิ่งถ้ามีเดิมพัน คือ การจะได้รับความคุ้มครองหรือไม่? หรือการจะได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือไม่? แล้วจะไม่ทำให้ต้องคิดมากได้อย่างไร?

 

เมื่อพิจารณาถึงคำถามที่ว่ากรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายฉบับใดจะเข้ามารับผิดชอบ?

 

1) กรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก (เกณฑ์คุ้มครองวันเกิดความเสียหาย (Occurrence Basis))

           ระยะเวลาประกันภัย 12 เดือน ระหว่างวันที่ 1/01/2004 – 1/01/2005

 

2) กรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายอันเนื่องจากผลิตภัณฑ์ (เกณฑ์คุ้มครองวันเรียกร้อง (Claims Made Basis))

           ระยะเวลาประกันภัย 12 เดือน ระหว่างวันที่ 1/01/2004 – 1/01/2005

 

กรณีสมมุติว่า

 

    1.1) วันที่เกิดเหตุ คือ 2/03/2004

           ฉบับแรก ถือว่าคุ้มครอง เพราะเกิดเหตุขึ้นภายในระยะเวลา

           ประกันภัย

           ฉบับที่สอง ไม่คุ้มครอง เพราะเจ้าของปั๊มน้ำมันผู้เอาประกันภัย

           เข้าแจ้งต่อบริษัทประกันภัยเป็นครั้งแรก ภายหลังสิ้นสุดระยะ

           เวลาประกันภัยแล้ว 

    1.2) วันที่เสียหาย คือ 14/03/2004

           ฉบับแรก ถือว่าคุ้มครอง แม้นวันที่เกิดเหตุกับวันที่เสียหายต่าง

           วันกันก็ตาม เพราะทั้งสองวันยังอยู่ภายในระยะเวลาประกันภัย

           เดียวกัน

           ฉบับที่สอง ไม่คุ้มครอง เพราะเหตุผลเหมือนข้อ 1.1)

    1.3) วันที่เกิดเหตุกับวันที่เสียหาย คือ 2/03/2004

           ฉบับแรก ถือว่าคุ้มครอง เพราะอยู่ภายในระยะเวลาประกันภัย

           ฉบับที่สอง ไม่คุ้มครอง เพราะเหตุผลเหมือนข้อ 1.1)

    1.4) วันที่เกิดรอยรั่วที่ถังเก็บน้ำมันใต้ดิน คือ 30/12/2003

           ฉบับแรก ข้อ 1.1) ถึง 1.3) ไม่ได้รับความคุ้มครองทั้งหมด 

           หากบริษัทประกันภัยอ้างว่า ต้นเหตุที่ก่อเกิดเหตุการณ์นั้นได้

           เกิดขึ้นมาก่อนระยะเวลาประกันภัย

           ฉบับที่สอง ไม่คุ้มครอง เพราะเหตุผลเหมือนข้อ 1.1)

    1.5) วันแรกที่ลูกค้าผู้เสียหายเข้ามาแจ้ง คือ 1/04/2004

           ฉบับแรก ถือว่าคุ้มครอง ถึงแม้วันที่เกิดเหตุกับวันที่เสียหาย

           และวันแรกที่ลูกค้าผู้เสียหายเข้ามาแจ้งเป็นต่างวันกัน เนื่อง

           จากทั้งสามวันยังอยู่ภายในระยะเวลาประกันภัยเดียวกัน

           ฉบับที่สอง ไม่คุ้มครอง เพราะเหตุผลเหมือนข้อ 1.1)

    1.6) วันแรกที่เจ้าของปั๊มน้ำมันผู้เอาประกันภัยเข้าแจ้งต่อบริษัทประกันภัย คือ 3/01/2005

           ฉบับแรก ถือว่าคุ้มครอง เพราะทั้งวันที่เกิดเหตุกับวันที่เสีย

           หายล้วนอยู่ภายในระยะเวลาประกันภัย โดยไม่คำนึงผู้เอา

           ประกันภัยจะไปแจ้งเรียกร้องต่อบริษัทประกันภัยเมื่อใด

           ฉบับที่สอง ไม่คุ้มครอง เพราะเหตุผลเหมือนข้อ 1.1)

 

ข้อสังเกตหลัก ๆ น่าจะอยู่ที่ข้อ 1.4) เพราะจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความคุ้มครองของผู้เอาประกันภัยทั้งสองฉบับ

 

จึงก่อให้เกิดคำถามขึ้นมาระหว่างวันที่เกิดเหตุ (หรือวันต้นเหตุแรกสุด) กับวันที่เสียหาย ควรจะยึดถือวันใดเป็นเกณฑ์พิจารณากันแน่?

 

โดยเฉพาะในกรณีที่มีลักษณะเรียกภาษากฎหมายว่า “ละเมิดต่อเนื่อง” ซึ่งผู้ละเมิดได้กระทำความผิดอย่างต่อเนื่องติดต่อกันช่วงระยะเวลาหนึ่ง อาจเป็นเวลาหลายวัน หลายเดือน หรือหลายปีก็เป็นได้

 

ศาลต่างประเทศจึงได้คิดค้นทฤษฏีทางกฎหมายขึ้นมาประกอบการพิจารณาวินิจฉัยหลากหลายทฤษฏี อันได้แก่

 

1) ทฤษฏีความเสียหายจริง (Injury-in-Fact Theory)

2) ทฤษฏีการแสดงผล (Manifestation Theory)

3) ทฤษฏีการปรากฏผล (Exposure Theory)

4) ทฤษฏีการทำงานอย่างต่อเนื่องของกลไก (Continuous Trigger Theory)   

 

สัปดาห์ค่อยมาไล่เลียงกันดูนะครับว่า แต่ละทฤษฎีให้ความหมายเช่นไรกันบ้าง?

 

บริการ

-     รับบรรยายให้ความรู้ด้านประกันวินาศภัย

-     รับแปลเอกสารกรมธรรม์ประกันภัย (อังกฤษเป็นไทย)

สนใจติดต่อ vivatchai.amornkul@gmail.com

 

อ่านบทความอีกชุดที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ใน พบ-ป(ร)ะ-กัน(ภัย): เป็นเรื่อง เป็นราว ใน Facebook Meet Insurance ที่ https://www.facebook.com/pomamornkul/

และที่ https://www.facebook.com/BestTrainingAdvisory

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น