เรื่องที่ 113: จะเกิดอะไรขึ้นกับบริษัทประกันภัยต่อไป
เมื่อมีคำพิพากษาศาลฎีกาเรื่องกรมธรรม์ประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก (Business
Interruption Insurance Policy) ออกมาเช่นนั้น?
(ตอนที่สาม)
ตอนล่าสุดได้ทิ้งท้ายว่า สรุปแล้ว วัตถุประสงค์ของกรมธรรม์ประกันภัยธุรกิจหยุดชะงักให้ความคุ้มครองอะไร?
กำไรขั้นต้น หรือการสูญเสียรายได้กันแน่
ถ้าย้อนกลับไปดูประวัติของการประกันภัยธุรกิจหยุดชะงักซึ่งมีอายุยาวนานสองร้อยกว่าปี
ได้มีการลองผิดลองถูกเรื่อยมาจนถึงเงื่อนไขความคุ้มครองปัจจุบันที่ถูกใช้มานับร้อยปีแล้ว
โดยพยายามยึดหลักการประกันภัยในเรื่องการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามความเป็นจริง (Principle of Indemnity)
เพื่อทำการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เอาประกันภัยกลับคืนสู่สถานะทางการเงินดังเดิมเสมือนหนึ่งมิได้เกิดความเสียหายขึ้นมา
โดยสามารถแสดงวิธีการคำนวณเป็นสูตรคณิตศาสตร์ให้ผู้ขอเอาประกันภัยได้เห็นภาพตั้งแต่ก่อนจะตกลงทำประกันภัยนี้ด้วยซ้ำไป
ทำได้ยังไง?
อย่างที่เคยเกริ่น ต้องขอบคุณตารางมหัศจรรย์ของ Mr. Brian Berry
สกุลเงิน - บาท
รายการ
|
ก่อนเกิดเหตุ
|
%
|
หลังเกิดเหตุ
|
%
|
ยอดรายได้
|
100,000,000
|
|
50,000,000
|
|
ค่าใช้จ่ายผันแปร
|
70,000,000
|
70
|
35,000,000
|
70
|
ค่าใช้จ่ายคงที่
|
20,000,000
|
20
|
20,000,000
|
40
|
กำไรสุทธิ
|
10,000,000
|
10
|
-
|
-
|
ขาดทุนสุทธิ
|
-
|
-
|
(5,000,000)
|
(10)
|
ธุรกิจที่จะทำประกันภัยประเภทนี้ได้จำต้องมีระบบบันทึกบัญชีมาตรฐาน
เพราะจะอาศัยอ้างอิงเป็นหลักฐานเวลากำหนดทุนประกันภัยและเวลาพิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนด้วย
อย่างไรก็ดี ข้อควรคำนึง
คือ คำเรียกบางคำจะให้ความหมายเช่นเดียวกับศัพท์บัญชี แต่บางคำจะมีความหมายแตกต่างไป
ดั่งเช่น “กำไรขั้นต้น” โดยทั่วไป ในแง่การประกันภัยประเภทนี้หมายความถึง
ผลรวมระหว่างค่าใช้จ่ายคงที่กับกำไรสุทธิเท่านั้น
กลับมาพิจารณาตัวอย่างตารางข้างต้นที่เปรียบเทียบงบบัญชีกำไรขาดทุนของโรงงานผลิตแห่งหนึ่งก่อนเกิดเหตุความเสียหายกับภายหลังความเสียหาย
ก่อนเกิดเหตุ
โรงงานแห่งนี้มีกำไรสุทธิอยู่ 10 ล้านบาทหรือคิดเป็น 10% ของยอดรายได้
ความเสียหายจากไฟไหม้ส่งผลทำให้ผลประกอบการกลายเป็นขาดทุนสุทธิ
5 ล้านบาทหรือคิดเป็น (10%) ของยอดรายได้หลังเกิดเหตุ
ถ้าโรงงานแห่งนี้มีประกันภัยประเภทนี้คุ้มครองอยู่
บริษัทประกันภัยจะทำการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กลับมามีกำไรสุทธิได้ดังเดิม
คุณเชื่อคำพูดเช่นนี้ของบริษัทประกันภัยไหมครับ?
ถ้าไม่เชื่อ
ก็ต้องพิสูจน์ ผมมักใช้คำถามคำตอบลักษณะนี้เวลาบรรยายการประกันภัยประเภทนี้
หากนำข้อกำหนดความคุ้มครองเฉพาะ
แบบ 1 สำหรับการประกันภัยกำไรขั้นต้น
(แบบหลักเกณฑ์ผลต่าง) มาใช้บังคับกับตัวอย่างนี้
“(ก) ในกรณีของการลดลงของยอดรายได้ :
บริษัทจะชดใช้จำนวนเงินที่คำนวณได้จากการนำอัตรากำไรขั้นต้น
คูณกับจำนวนยอดรายได้ที่ขาดหายไป ในระหว่างระยะเวลาการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน”
กำไรขั้นต้นก่อนเกิดเหตุ (ผลรวมระหว่างค่าใช้จ่ายคงที่กับกำไรสุทธิ)
คือ 30 ล้านบาท (20 ล้านบาท + 10
ล้านบาท) หรือเท่ากับอัตรากำไรขั้นต้น
30% นั่นเอง
เมื่อนำไปคูณกับยอดรายได้ที่ขาดหายไป
ในที่นี้ คือ 50 ล้านบาท (100 ล้านบาท - 50
ล้านบาท) ผลลัพธ์ที่ได้จะเท่ากับค่าสินไหมทดแทนที่จะได้รับ 15 ล้านบาท เมื่อนำไปบันทึกระบบบัญชีจะแสดงผลกลับมาเป็นกำไรสุทธิดังเดิม
แต่ถ้าเปลี่ยนไปทำทุนประกันภัยจากยอดรายได้แทน
อัตราที่จะนำใช้คำนวณเท่ากับ 100% ผลลัพธ์ที่ได้จะเท่ากับ
50 ล้านบาท ไม่สะท้อนความเป็นจริง
เพราะรายการค่าใช้จ่ายผันแปรที่ขาดหายไป 35
ล้านบาท (70 ล้านบาท - 35 ล้านบาท) ไม่ถือเป็นความเสียหายเนื่องจากเป็นกรณีที่ผู้เอาประกันภัยมิได้ใช้จ่ายออกไปจริง
จะต้องนำมาหักจากผลลัพธ์ที่ได้นั้น ตัวเลขคงเหลือจะไม่แตกต่างกับของกำไรขั้นต้น
แต่สิ่งที่สำคัญ คือ ผู้เอาประกันภัยเสียเบี้ยประกันภัยโดยเปล่าประโยชน์
นั่นคือ
เหตุผลสำคัญที่ทำไมบริษัทประกันภัยถึงกำหนดเงื่อนไขความคุ้มครองให้เป็นเกณฑ์กำไรขั้นต้น
โปรดระลึกด้วยนะครับว่า
ตัวอย่างนี้เป็นเพียงหลักการพื้นฐานเบื้องต้น เพราะในความเป็นจริงยังมีรายละเอียดปลีกย่อยต่าง
ๆ อีกที่คู่สัญญาประกันภัยทั้งสองฝ่ายจำต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องตรงกันเสียก่อน
เพื่อลดข้อพิพาทที่อาจจะเกิดขึ้นมาได้ให้เหลือน้อยที่สุด
การประกันภัยประเภทนี้จึงอาจไม่ง่ายนักเวลาจะทำประกันภัย
และเวลาพิจารณาค่าสินไหมทดแทน แต่ให้ประโยชน์อย่างมากมายแก่ธุรกิจและแก่สังคมในภาพรวม
ในช่วงเวลาที่เกิดน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 2554
ผมพยายามย้ำเสมอเวลาบรรยายต่ออายุบัตรตัวแทน/นายหน้าประกันวินาศภัยว่า
ถ้าโรงงานอุตสาหกรรมหรือธุรกิจใดที่ประสบภัยและมีประกันภัยประเภทนี้อยู่
เราคงไม่เห็นภาพคนงานถูกเลิกจ้างหรือถูกลอยแพดั่งที่ปรากฏในภาพข่าว
ซึ่งเป็นสิ่งที่ชวนหดหู่ใจนะครับ
ตอนหน้าจะมาคุยกันต่อในอีกสองประเด็นที่เหลือ
บริการ
- รับบรรยายให้ความรู้ด้านประกันวินาศภัย
-
รับแปลเอกสารกรมธรรม์ประกันภัย (อังกฤษเป็นไทย)
สนใจติดต่อ vivatchai.amornkul@gmail.com
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ใน พบ-ป(ร)ะ-กัน(ภัย):
เป็นเรื่อง เป็นราว ใน Facebook Meet Insurance ที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น