เรื่องที่ 108: เมื่อเกิดความเสียหายต่อสต็อก
(Stock)
ที่เอาประกันภัยพร้อมกับความสูญเสียต่อผลกำไรขั้นต้น (Gross
Profit) จะซ้ำซ้อนกันหรือไม่? แล้วค่าสินไหมทดแทนจะคำนวณเช่นไร?
(ตอนที่สอง)
แน่นอนครับ บริษัทประกันภัยไม่เห็นด้วยกับวิธีการคำนวณค่าสินไหมทดแทนและไม่ยอมรับเหตุผลดังกล่าวของผู้เอาประกันภัย
พร้อมแสดงวิธีการคำนวณค่าสินไหมทดแทนที่ควรจะเป็น
ซึ่งจะทำการชดใช้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยสำหรับกรณีนี้ ดังนี้
1) กรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน
ทุนประกันภัยสำหรับสต็อกสินค้า
(ราคาขายบวกกำไรแล้ว) = 4,000,000
บาท
สต็อกสินค้าเสียหายทั้งหมด
ให้ชดใช้เต็มทุนประกันภัย = 4,000,000
บาท
======
2) กรมธรรม์ประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก
ระยะเวลาการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสูงสุด = 12 เดือน
ประมาณการยอดขายประจำปี = 8,000,000
บาท
ยอดขายที่มีอยู่จริง
ณ วันที่เกิดความเสียหาย = 4,000,000
บาท
(หากมิได้เกิดความเสียหายขึ้นมาเสียก่อน)
ประมาณการยอดขายที่ขาดหายไป
= 4,000,000 บาท
======
อัตราผลกำไรขั้นต้นอยู่ที่
50%
ค่าสินไหมทดแทน
(4,000,000 x 50%) = 2,000,000 บาท
======
รวมค่าสินไหมทดแทนที่จะได้รับทั้ง
1) + 2) = 6,000,000 บาท
โดยบริษัทประกันภัยอธิบายว่า ปกติแล้ว สต็อกสินค้าควรจัดทำทุนประกันภัยตามราคาต้นทุนที่ไม่บวกกำไร
แต่เมื่อได้มีการตกลงรับประกันภัยด้วยมูลค่ารวมกำไรดังกล่าว ประกอบกับในวันที่เกิดความเสียหายนั้น
ปรากฏมีสต็อกสินค้าที่เอาประกันภัยอยู่จริงรวมทั้งหมดเพียง 4,000,000
บาทเท่านั้นซึ่งได้รับความเสียหาย บริษัทประกันภัยก็จะทำการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง
ภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สินนั้น
ครั้นมาพิจารณาถึงกรมธรรม์ประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก
ซึ่งมีเงื่อนไขบังคับก่อนว่า
ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยจะต้องได้รับความเสียหายเสียก่อน
อันจะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สินด้วย
กรมธรรม์ประกันภัยธุรกิจหยุดชะงักถึงจะมีผลใช้บังคับได้
ดูจากสภาพความเสียหายที่เกิดขึ้นค่อนข้างรุนแรง
โอกาสที่ผู้เอาประกันภัยจะกลับคืนสู่สถานะทางการเงินดังเดิมก่อนเกิดความเสียหายนั้น
ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่าหนึ่งปี ฉะนั้น ระยะเวลาการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสูงสุด (Maximum
Indemnity Period) 12 เดือน หรือคำนวณเป็นจำนวนเงินเอาประกันภัยของผลกำไรขั้นต้นอยู่ที่ 4,000,000
บาท (ประมาณการยอดขายประจำปี
8,000,000 x อัตราผลกำไรขั้นต้น 50%) น่าจะมีผลคุ้มครองเต็มตามจำนวนเงินเอาประกันภัยดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม กรณีนี้คำนวณยอดขายที่ขาดหายไปได้เท่ากับ
4,000,000 บาท (8,000,000 - 4,000,000) แล้วคูณด้วยอัตราผลกำไรขั้นต้น 50% ผลลัพธ์ที่ได้ คือ
จำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนที่จะได้รับการชดใช้เท่ากับ 2,000,000 บาท
รวมค่าสินไหมทดแทนทั้งสองกรมธรรม์ประกันภัย
6,000,000 บาท
ข้อสังเกต คือ กรณีนี้ ทั้งสองกรมธรรม์ประกันภัยล้วนคำนวณโดยบวกผลกำไรซ้ำซ้อนกัน
บริษัทประกันภัยสามารถอ้างสิทธิขอปรับลดจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนลงได้ไหม?
เรามาลองตั้งสมมุติฐานอีกเป็นกรณีที่สองเปรียบเทียบกัน
ถ้าผู้เอาประกันภัยทำประกันภัยสต็อกสินค้าเฉพาะราคาต้นทุนเอาไว้ที่
2,000,000 บาท ภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน
และนำเอาผลกำไรขั้นต้นไปรวมทำประกันภัยไว้กรมธรรม์ประกันภัยธุรกิจหยุดชะงักด้วยจำนวนเงินเอาประกันภัยที่
6,000,000 บาทแทน จะคำนวณออกมาได้ ดังนี้
1) กรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน
ทุนประกันภัยสำหรับสต็อกสินค้า
(ราคาต้นทุนไม่บวกกำไร) = 2,000,000
บาท
สต็อกสินค้าเสียหายทั้งหมด
ให้ชดใช้เต็มทุนประกันภัย = 2,000,000
บาท
======
2) กรมธรรม์ประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก
ระยะเวลาการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสูงสุด = 12 เดือน
ประมาณการยอดขายประจำปี = 6,000,000
บาท
ยอดขายที่มีอยู่จริง
ณ วันที่เกิดความเสียหาย = 2,000,000
บาท
(หากมิได้เกิดความเสียหายขึ้นมาเสียก่อน)
ประมาณการยอดขายที่ขาดหายไป
= 4,000,000 บาท
======
อัตราผลกำไรขั้นต้นอยู่ที่
50%
ค่าสินไหมทดแทน
(4,000,000 x 50%) = 2,000,000 บาท
======
รวมค่าสินไหมทดแทนที่จะได้รับทั้ง
1) + 2) = 4,000,000 บาท
คุณเห็นควรเลือกทำประกันภัยกรณีใดเหมาะสมและปลอดภัยที่สุดครับ?
(เรียบเรียงและดัดแปลงมาจากบทความ Business Interruption Loss – The Interaction between Inventory Losses and Business Interruption Claims By Cameron McQuaid, Published in Insurance People – November 2014 issue)
เรื่องต่อไป
รถหายในห้างสรรพสินค้า ใครรับผิดชอบกันแน่?
บริการ
- รับบรรยายให้ความรู้ด้านประกันวินาศภัย
-
รับแปลเอกสารกรมธรรม์ประกันภัย (อังกฤษเป็นไทย)
สนใจติดต่อ vivatchai.amornkul@gmail.com
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ใน พบ-ป(ร)ะ-กัน(ภัย):
เป็นเรื่อง เป็นราว ใน Facebook Meet Insurance ที่
https://www.facebook.com/pomamornkul/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น