เรื่องที่ 92:เหตุเกิดที่ข้างสนามกอล์ฟ
(ตอนที่สอง)
เจ้าของบ้านผู้เสียหายได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องสนามกอล์ฟเป็นจำเลยให้รับผิดจากการที่ปล่อยปละละเลยทำให้มีลูกกอล์ฟหลุดลอยมาสร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินในบ้านของตนที่ปลูกอยู่ข้างเคียง
และก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญในการอยู่อาศัยอย่างมีความสุข
ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีนี้โดยให้ความเห็นว่า
น่าแปลกใจที่ทำไมโจทก์ไม่ร้องเรียนต่อสนามกอล์ฟถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นตั้งแต่เนิ่น
ๆ กลับปล่อยเรื่องราวทิ้งไว้นับปี แสดงว่า
ช่วงแรกมิได้มีการเดือดร้อนรำคาญมากมายอะไรนัก จนกระทั่งปรากฏมีการรบกวนความสงบสุขในการอยู่อาศัยเพิ่มขึ้นจึงได้จัดทำหนังสือร้องเรียนเป็นระยะไปดังกล่าว
กระทั่งบัดนี้ ความเดือดร้อนรำคาญนั้นได้ลดลงน้อยลงไปแล้ว ดังนั้น
ศาลชั้นต้นเชื่อว่า
ช่วงแรกสนามกอล์ฟมิได้รับรู้หรือควรจะรับรู้ถึงเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นเลยจวบจนกระทั่งเมื่อได้รับหนังสือร้องเรียนจากทนายของโจทก์ในปี
ค.ศ. 2001
และได้ดำเนินการแก้ไขตามสมควรที่จะพึงกระทำได้จนทำให้สถานการณ์ดีขึ้นดังกล่าวแล้ว
จึงวินิจฉัยให้สนามกอล์ฟจำเลยไม่จำต้องรับผิดตามฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ โดยชี้แจงว่า ที่ผ่านมา
โจทก์มิได้เรียกร้องจากสนามกอล์ฟ เพราะสิ่งใดที่เป็นความเสียหายเล็กน้อย
โจทก์สามารถซ่อมแซมได้เอง ก็จะรับผิดชอบเอง แต่บางกรณีที่ทำไม่ได้
หรือเป็นความเสียหายมาก จึงได้มาเรียกร้องขอให้จำเลยทำการชดใช้ให้ อันที่จริง
โจทก์เองเคยถูกลูกกอล์ฟพุ่งมาโดนร่างกาย แต่มิได้เรียกร้องอะไร บางคราว
ลูกกอล์ฟก็หวุดหวิดจะไปถูกลูกชายของโจทก์ที่อยู่ในโรงรถด้วยเหมือนกัน
ความรู้สึกคล้ายเสมือนอยู่ในสนามรบโดยเฉพาะช่วงวันหยุดที่มีคนเข้ามาเล่นกอล์ฟเพิ่มขึ้น
ช่วงปี ค.ศ. 1994
โจทก์เคยเก็บรวบรวมลูกกอล์ฟได้สัปดาห์ละ 12-20
ลูก และช่วงปี ค.ศ. 2001 เคยเก็บรวบรวมลูกกอล์ฟได้ทั้งหมดถึง
526 ลูกในระยะเวลาสิบสองเดือน
ฝ่ายจำเลยชี้แจงว่า
สนามกอล์ฟไม่มีความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดจากลูกกอล์ฟ เพราะตามกฎหมายแล้ว
ผู้ตีลูกกอล์ฟเป็นผู้กระทำความผิดโดยตรง มิใช่สนามกอล์ฟ แต่อย่างไรก็ตาม
เพื่อแสดงเจตนาดีต่อเพื่อนบ้าน สนามกอล์ฟก็มีนโยบายที่จะพิจารณาชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแทนให้แก่เพื่อนบ้าน โดยมีเงื่อนไขว่า กรมธรรม์ประกันภัยของเพื่อนบ้านที่เสียหายจะต้องชดใช้ไปให้ก่อน
ถ้ายังไม่เพียงพอ สนามกอล์ฟก็จะช่วยชดใช้ส่วนเกินให้ด้วยวงเงินไม่เกิน 100 ดอลล่าร์ออสเตรเลีย ซึ่งมิใช่หน้าที่ข้อผูกพันทางกฎหมายแต่ประการใด
ที่ผ่านมา
เมื่อได้รับเรื่องร้องเรียนเข้ามา
ทางเจ้าหน้าที่ของสนามกอล์ฟจะทำการพิจารณาตามสมควรตามนโยบายที่วางไว้
จนกระทั่งมีหนังสือจากทนายความของฝ่ายโจทก์
เรื่องราวจึงถูกนำเสนอต่อฝ่ายบริหารของสนามกอล์ฟ
อันนำไปสู่การแก้ไขปรับปรุงตำแหน่งของหลุมที่ 12 ที่เป็นปัญหาดังกล่าวในท้ายที่สุด
ประเด็นสำคัญที่ศาลอุทธรณ์วิเคราะห์
คือ
(ก)
สนามกอล์ฟจำเลยมีความรับผิดในการกระทำความผิดหรือไม่?
แนวความคิดที่ว่า
ผู้ตีกอล์ฟจำต้องรับผิดแต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
เพราะถ้าหากผู้ครอบครองสถานที่ปล่อยละเลยให้มีผู้กระทำการอันเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ
(Nuisance)
แก่บุคคลอื่นในสถานที่ของตน
โดยที่ตนรับรู้หรือควรจะได้รับรู้ถึงการกระทำนั้นแล้ว
ผู้ครอบครองสถานที่นั้นจำต้องร่วมรับผิดด้วยนับแต่วันที่ตนได้รับรู้หรือควรจะได้รับรู้ถึงเหตุนั้น
(ข) จำเลยรับรู้ถึงเหตุแห่งความเดือดร้อนรำคาญเมื่อใด
และได้ใช้มาตรการป้องกันตามสมควรหรือไม่?
การที่ศาลชั้นต้นวิเคราะห์โดยอาศัยเพียงหนังสือร้องเรียนที่ได้รับจากทนายความของฝ่ายโจทก์เป็นเกณฑ์อย่างเดียวเท่านั้น
ศาลอุทธรณ์ไม่เห็นพ้องด้วย จำต้องรายละเอียดข้อความจริงที่เกิดขึ้นด้วย จากพยานหลักฐานของฝ่ายโจทก์
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า ฝ่ายจำเลยได้รับรู้
หรือควรรับรู้ถึงการรบกวนความสงบสุขของฝ่ายโจทก์ตั้งแต่เมื่อได้รับหนังสือร้องเรียนฉบับปี
ค.ศ.
1994 แล้ว มิใช่นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001 ดังที่ศาลชั้นต้นวิเคราะห์ และฝ่ายจำเลยก็มิได้จัดดำเนินการปรับปรุงแก้ไขปัญหาดังกล่าวเลยจวบจนกระทั่งได้ทำการแก้ไขปรับปรุงจนถึงต้นปี
ค.ศ. 2002
ทำให้จำนวนลูกกอล์ฟที่หลุดลอยมาลดเหลือเพียงสัปดาห์ละ 2-3 ลูกก็ตาม
ก็ยังถือเป็นการรบกวนความสงบสุขในการอยู่อาศัยของฝ่ายโจทก์เกินกว่าที่ควรคาดหมายได้อยู่ดี
ฝ่ายจำเลยจำต้องหามาตรการป้องกันเพิ่มเติมอีก
(ค) ค่าเสียหายที่ควรได้รับการชดใช้
โจทก์เรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริงกับที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตรวมเป็นเงินทั้งสิ้น
20,000 ดอลล่าร์ออสเตรเลีย
โดยมีหลักฐานค่าซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงระหว่างปี ค.ศ. 1998 จนถึงปี ค.ศ. 2001 รวมทั้งสิ้น 605.50 ดอลล่าร์ออสเตรเลียเท่านั้น
ซึ่งการคำนวณค่าเสียหายจากการเดือดร้อนรำคาญในอนาคตนั้นเป็นสิ่งที่มิอาจคำนวณได้อย่างแน่นอนชัดเจน
ศาลอุทธรณ์จึงวินิจฉัยให้ฝ่ายจำเลยรับผิดสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.
1994 จนถึงวันที่มีคำตัดสินรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 12,000 ดอลล่าร์ออสเตรเลีย
(อ้างอิงจากคดี Challen
-v- The McLeod Country Golf Club [2004] QCA 358)
ฉะนั้น สนามกอล์ฟเองนอกเหนือจากทำประกันภัยคุ้มครองทรัพย์สินของตนเองแล้ว
จำต้องทำประกันภัยคุ้มครองถึงความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอกด้วย เช่นเดียวกับในส่วนของผู้เล่นกอล์ฟควรจะทำประกันภัยผู้เล่นกอล์ฟเอาไว้
ซึ่งจะให้ความคุ้มครองแก่ชีวิตร่างกายกับอุปกรณ์กอล์ฟของผู้เล่นกอล์ฟที่เอาประกันภัยเองแล้ว
ยังให้ความคุ้มครองรวมถึงความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอกอีกด้วย
ดังเช่นในกรณีนี้ที่บริษัทประกันภัยของบุคคลภายนอกผู้เสียหาย
หรือของสนามกอล์ฟอาจจะมาสวมสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้เล่นกอล์ฟที่ก่อเหตุก็ได้
การอยู่ร่วมอาศัยกันในสังคมจะต้องให้ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่กันตามสมควร
สังคมถึงจะสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสงบสุขได้
เป็นการถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกัน ผู้ที่มาอาศัยอยู่ภายหลังจำต้องยอมรับสภาพที่เป็นอยู่ก่อนหน้าแล้วตามสมควร
แต่ก็จะต้องมิได้ถูกรบกวนสิทธิอันพึงจะมีของตนด้วยเช่นกัน
ซึ่งกฎหมายไทยได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
“มาตรา 1337 บุคคลใดใช้สิทธิของตนเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้รับความเสียหาย
หรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควรในเมื่อเอาสภาพและตำแหน่งที่อยู่แห่งทรัพย์สินนั้นมาคำนึงประกอบไซร้
ท่านว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์มีสิทธิจะปฏิบัติการเพื่อยังความเสียหายหรือเดือดร้อนนั้นให้สิ้นไป
ทั้งนี้ ไม่ลบล้างสิทธิที่จะเรียกเอาค่าทดแทน”
โดยมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่พอเทียบเคียงเท่าที่ค้นเจอ
ดังนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14701/2557
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาให้จำเลยออกระเบียบแก่บุคคลที่มาใช้บริการสนามกอล์ฟของจำเลย ห้ามมิให้ใช้ไม้กอล์ฟที่มีประสิทธิภาพตีไกล เช่น หัวไม้ 1 ห้ามมิให้ตั้งทีสูงเกิน 45 มิลลิเมตร ที่บริเวณชั้น 1 และกำหนดเวลาเปิดปิดตั้งแต่ 8 ถึง 20.30 นาฬิกา เป็นการคุ้มครองสิทธิของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 421, 1337, 1337 และ 1374 เพื่อระงับยับยั้งมิให้การใช้สิทธิของจำเลยก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ไม่เป็นการจำกัดเสรีภาพในการประกอบอาชีพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 5 และมาตรา 43 วรรคหนึ่ง และเป็นการพิพากษาบังคับให้จำเลยในฐานะผู้ประกอบกิจการสนามฝึกซ้อมกอล์ฟโดยตรงให้กระทำการและเป็นผู้ออกระเบียบ มิใช่เป็นการบังคับบุคคลภายนอกซึ่งสภาพแห่งหนี้เปิดช่องให้กระทำได้
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาให้จำเลยออกระเบียบแก่บุคคลที่มาใช้บริการสนามกอล์ฟของจำเลย ห้ามมิให้ใช้ไม้กอล์ฟที่มีประสิทธิภาพตีไกล เช่น หัวไม้ 1 ห้ามมิให้ตั้งทีสูงเกิน 45 มิลลิเมตร ที่บริเวณชั้น 1 และกำหนดเวลาเปิดปิดตั้งแต่ 8 ถึง 20.30 นาฬิกา เป็นการคุ้มครองสิทธิของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 421, 1337, 1337 และ 1374 เพื่อระงับยับยั้งมิให้การใช้สิทธิของจำเลยก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ไม่เป็นการจำกัดเสรีภาพในการประกอบอาชีพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 5 และมาตรา 43 วรรคหนึ่ง และเป็นการพิพากษาบังคับให้จำเลยในฐานะผู้ประกอบกิจการสนามฝึกซ้อมกอล์ฟโดยตรงให้กระทำการและเป็นผู้ออกระเบียบ มิใช่เป็นการบังคับบุคคลภายนอกซึ่งสภาพแห่งหนี้เปิดช่องให้กระทำได้
เรื่องต่อไป คดีศึกษากรมธรรม์ประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก
บริการ
- รับบรรยายให้ความรู้ด้านประกันวินาศภัย
-
รับแปลเอกสารกรมธรรม์ประกันภัย (อังกฤษเป็นไทย)
สนใจติดต่อ
vivatchai.amornkul@gmail.com
ประกันภัยเป็นเรื่อง
http://vivatchaia.blogspot.com
พบ-ป(ร)ะ-กัน(ภัย): เป็นเรื่อง เป็นราว ใน Facebook
Meet Insurance ที่ https://www.facebook.com/pomamornkul/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น