(ตอนที่สอง)
คดีนี้ ศาลชั้นต้นกับศาลสูงล้วนเห็นต้องตรงกันว่า
อุบัติเหตุนี้เกิดขึ้นจากสองสาเหตุพ้องกัน นั่นคือ
1) สาเหตุแรกจากความประมาทเลินเล่อคนงานของผู้รับเหมาที่มิได้จัดวางเศษวัสดุให้มั่นคงปลอดภัย
กับ
2) สาเหตุที่สองจากความประมาทเลินเล่อของคนขับรถที่มิได้ตรวจสอบความมั่นคงแน่นหนาของเศษวัสดุที่บรรทุกไป
เมื่อพิจารณาไปที่กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์
ศาลเห็นว่า แม้คนขับรถจะมีส่วนประมาทอยู่ด้วย
แต่ถ้าจะให้กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รับผิดชอบฝ่ายเดียวคงไม่เป็นธรรมนัก
ส่วนกรมธรรม์ประกันภัยการปฏิบัติงานตามสัญญา
ในหมวดที่สาม ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ซึ่งกำหนดข้อยกเว้นไม่คุ้มครองความรับผิดที่เกิดขึ้นจาก
“อุบัติเหตุใด ๆ ที่มีสาเหตุมาจากยานพาหนะที่ได้รับอนุญาตให้วิ่งบนถนนทั่วไป
หรือยวดยานทางน้ำ หรืออากาศยาน” และจะไม่รับผิดชอบเลยนั้น
ไม่น่าถูกต้อง เพราะเมื่อพิจารณาจากความประมาทเลินเล่อดังกล่าวของคนงานของผู้รับเหมาแล้ว
เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเก็บทำความสะอาดเศษวัสดุ (clean
up of the work site) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานในสถานที่ก่อสร้างนั้นเอง
จะตีความจำกัดเพียงให้เป็นแค่การขน (loading) ขึ้นรถ อันเป็นส่วนหนึ่งของการใช้รถอย่างเดียว ก็คงไม่น่าถูกอีกเช่นกัน
ประกอบกับเจตนารมณ์ของการซื้อความคุ้มครองทั้งสองฉบับ
ก็ชัดเจนว่า กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์มุ่งคุ้มครองอุบัติเหตุที่เกิดจากการใช้รถ
และกรมธรรม์ประกันภัยการปฏิบัติงานตามสัญญาก็มุ่งคุ้มครองอุบัติเหตุที่เกิดจากการก่อสร้าง
เพื่อมิให้ความคุ้มครองทับซ้อนกัน ฉะนั้น ข้อยกเว้นในหมวดที่สามของกรมธรรม์ประกันภัยการปฏิบัติตามสัญญาจึงจำต้องตีความอย่างแคบ
และเป็นคุณแก่ผู้เอาประกันภัย
อีกทั้งข้อยกเว้นดังกล่าวก็มิได้ระบุลงไปอย่างชัดแจ้งเลยว่า ถ้ามีสองสาเหตุพ้องกัน บริษัทประกันภัยจะสามารถยกปฏิเสธความรับผิดได้
ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทั้งสองกรมธรรม์ประกันภัยจึงต้องร่วมกันรับผิดสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นในครั้งนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น