(ตอนที่สอง)
ฉะนั้น
ผู้มีส่วนได้เสียที่จะสามารถเอาประกันภัยได้จึงแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่ม
โดยเรียงลำดับตามความสำคัญ ดังนี้
1. เจ้าของกรรมสิทธิ์
หากวัตถุที่เอาประกันภัยเป็นทรัพย์สิน คือ เจ้า
ของทรัพย์สินนั้นเอง
ถ้าวัตถุที่เอาประกันภัยเป็นบุคคล ก็คือ
บุคคลที่เป็นเจ้าของชีวิตของตน หรือกรณีเป็นความรับผิดตาม
กฎหมาย
ก็คือ ผู้จำต้องรับผิดตามกฎหมาย โดยการกระทำของ
ตนเอง
หรือของบุคคลอื่นที่ตนจำต้องรับผิดแทนนั่นเอง ซึ่งบุคคล
เช่นนี้จะมีส่วนได้เสียอย่างเต็มที่ในวัตถุที่ระบุเอาประกันภัยนั้น
ทำให้เวลาเอาประกันภัยทรัพย์สินของตนเอง
บางครั้งจะเรียกว่า
“การประกันภัยทรัพย์สินของบุคคลที่หนึ่ง (First
Party
Insurance)” เพราะในแง่ของการประกันภัยจะพิจารณาให้ผู้เอา
ประกันภัยเป็นบุคคลที่หนึ่ง
โดยมีบริษัทประกันภัยเป็นบุคคลที่
สอง ส่วนบุคคลอื่น ๆ
นอกจากนั้น จะถือเป็นบุคคลที่สาม
ดังนั้น โดยหลักการปกติแล้ว ทรัพย์สินของใคร
ชีวิตของใคร ใคร
เป็นเจ้าของ ก็ควรทำประกันภัยคุ้มครองทรัพย์สิน หรือชีวิตของตน
เอง
จะไปคุ้มครองทรัพย์สิน หรือชีวิตของบุคคลอื่นไม่ได้
2. ผู้มีส่วนได้เสียอื่นตามกฎหมาย
หากกำหนดให้ผู้มีสิทธิที่จะเอา
ประกันภัยได้ คือ เพียงเจ้าของดังในข้อแรกเท่านั้น อาจเป็นการ
จำกัดสิทธิมากเกินไป กฎหมายจึงอนุญาตให้บุคคลที่มีส่วนได้
เสียอื่น
สามารถเอาประกันภัยได้ด้วย
เป็นต้นว่า เจ้าหนี้ ผู้รับจำนอง ผู้รับจำนำ
ผู้ให้เช่าซื้อ ผู้เช่า ผู้รับ
ฝากทรัพย์ ผู้รับจ้าง
โดยผู้มีส่วนได้เสียอื่นตามที่กฎหมายรับรองสถานะให้นั้น
จะมี
ส่วนได้เสียที่จำกัด ไม่เต็มที่เหมือนอย่างเป็นเจ้าของทำเอง
ถ้าวัตถุที่เอาประกันภัยเดียว
มี
- หนึ่งเจ้าของ หรือ
- หนึ่งผู้มีส่วนได้เสีย
- หนึ่งผู้เอาประกันภัย
และ
- หนึ่งกรมธรรม์ประกันภัย
คงไม่มีปัญหาอะไร
แต่ถ้าวัตถุที่เอาประกันภัยเดียว
มี
- หลายเจ้าของ หรือ
- ผู้มีส่วนได้เสียมากกว่าหนึ่งล่ะ
ควรทำอย่างไรดี?
นั่นคือประเด็นของหัวข้อในบทความเรื่องนี้
ส่วนตัวของผมมองว่า
การจัดความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยให้เหมาะสม ถือเป็นศิลปอย่างหนึ่ง
เพราะอาจมีทางเลือกได้หลากหลาย อยู่ที่เราจะพิจารณาเลือกทางไหนให้เหมาะสมที่สุด
เราจะมาพิจารณากันไปตามลำดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสียนะครับ
โดยเริ่มต้นที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ก่อน ซึ่งจะขออนุญาตนำไปวิเคราะห์ในตอนต่อไป แต่ฝากเป็นการบ้านให้ลองพิจารณาก่อน
ดังนี้
บ้านหลังหนึ่งราคาหนึ่งล้านบาท
ซึ่งเป็นสินสมรสของสามีภรรยาคู่หนึ่ง ถ้าสามีมาขอทำประกันอัคคีภัยคุ้มครองบ้านหลังนั้น
โดยขอให้ระบุชื่อสามีเป็นผู้เอาประกันภัยรายเดียว จะทำได้หรือไม่? ถ้าได้ จะส่งผลอะไรเกิดขึ้นบ้าง?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น