(ตอนที่ห้า)
ทิ้งช่วงห่างจนข้ามปีเลย
ต้องขออภัยด้วยครับ คงจะกลับมาเขียนต่ออย่างสม่ำเสมอได้แล้ว
เราพูดกันค้างไว้ถึง
กรณีแรกที่มีผู้มีส่วนได้เสียอย่างเดียวกันหลายคนอยู่ในกรมธรรม์ประกันภัยฉบับเดียวกัน
ดังในตัวอย่าง คือ สามีกับภรรยาตามกฎหมาย
ต่างมีส่วนได้เสียในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในบ้านที่เป็นสินสมรสของทั้งคู่
ในแง่ของการประกันภัยจะเรียกว่า เป็น “กรมธรรม์ประกันภัยแบบควบ (Joint
Policy)” ซึ่งโดยหลักการแล้ว
จะถือว่า ผู้เอาประกันภัยทุกรายรวมกันเป็นหนึ่ง หากผู้เอาประกันภัยรายใด
กระทำผิดเงื่อนไข ก็จะส่งผลกระทบต่อผู้เอาประกันภัยรายอื่นด้วยทั้งหมด
เปรียบเสมือนกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนั้นเป็นเรือลำเดียวกัน
เมื่อผู้เอาประกันภัยทุกรายลงไปอยู่ในเรือลำเดียวกัน แล้วสมมุติว่า
ผู้เอาประกันภัยรายหนึ่งไปเจาะเรือ ทำให้เรือรั่ว และจมลงไปในที่สุด
ผู้เอาประกันภัยทุกรายก็จำต้องเผชิญชะตากรรมเดียวกัน โดยจมลงไปด้วยกัน ยิ่งถ้าการกระทำของผู้เอาประกันภัยควบรายหนึ่งนั้นเป็นความผิดอันร้ายแรง
เช่น การวางเพลิง ซึ่งถือเป็นอาชญากรรมที่ร้ายแรง
ซึ่งไม่เพียงสร้างความเสียหายแก่ตนเอง อาจสร้างความเสียหายให้แก่ประชาชนคนอื่นได้อีก
จึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของประชาชน ฉะนั้น
ไม่ว่าจะได้กระทำโดยสามี หรือภรรยา ซึ่งต่างเป็นผู้เอาประกันภัยควบคู่กันอยู่ในกรมธรรม์ประกันภัยฉบับเดียวกัน
แม้ผู้เอาประกันภัยควบอีกฝ่ายหนึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยก็ตาม
ก็ต้องรับเคราะห์กรรมไปด้วย
ดังใน
คดี
Short v. Oklahoma Farmers Union Ins.
Co., 619 P.2d 588 (Okla. 1980) ซึ่งสามีได้เผาบ้านซึ่งตนเองมีกรรมสิทธ์ร่วม ในวันที่ภรรยาร้องขอหย่า
หรือ
คดี MMI General Insurance Limited v Baktoo
& Anor (2000) 48 NSWLR 605; [2000] NSWCA 70 ที่คู่สามีภรรยาร่วมกันทำธุรกิจ
แล้วต่อมาสามีจุดไฟเผาธุรกิจแห่งนั้น
นอกจากนี้
ศาลยังเห็นอีกว่า ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย ซึ่งได้รับความเสียหายนั้น
ยังมิได้แบ่งแยก จึงถือเป็นทรัพย์สินร่วมกันของทั้งสองฝ่าย
เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้ผู้ที่ก่ออาชญากรรมร้ายแรงต้องได้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย
แม้จะโดยทางอ้อมก็ตาม ด้วยเหตุนี้ บริษัทประกันภัยจึงมีสิทธิปฎิเสธไม่จำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ทั้งหมดได้
อย่างไรก็ตาม
ปัจจุบัน ศาลหลายประเทศเริ่มอาศัย “ทฤษฏีผู้เอาประกันภัยที่บริสุทธิ์ (Innocent
Insured Doctrine)” มาใช้ประกอบในการตีความแก่ผู้เอาประกันภัยควบที่มิได้รู้อิโหน่อิเหน่ ซึ่งต้องมาร่วมรับเคราะห์กรรมด้วย
ทั้งทรัพย์สินของตนเองต้องสูญเสีย หรือเสียหายไป ก็คาดหวังว่า จะได้รับค่าสินไหมทดแทน
แม้เพียงบางส่วนก็ยังดี พอมาอาศัยประทังความสูญเสีย หรือความเสียหายของตนเองได้บ้าง
ซึ่งในอดีต กลับไม่ได้อะไรเลย แต่เมื่อศาลได้นำทฤษฏีดังกล่าวมาประกอบในการตีความ
ส่งผลทำให้ได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนกลับมาในส่วนของตนกึ่งหนึ่ง (อ้างอิงคดี Commercial Union
Ins. Co. v. State Farm Fire & Cas. Co., 546 F. Supp. 543, 547 (D. Colo.
1982)) หรือกระทั่งมีโอกาสได้รับค่าสินไหมทดแทนทั้งหมด
หากปรากฏว่า สามีผู้เอาประกันภัยควบที่กระทำความผิดจุดไฟเผา ได้ฆ่าตัวตายลงไปในเหตุการณ์นั้นด้วย
จึงเป็นที่มั่นใจว่า ผู้กระทำความผิดจะมิได้รับผลประโยชน์จากการกระทำเช่นนั้น
(อ้างอิงคดี Felder
v. North River Insurance Co., 435 N.W.2d 263 (Wis. Ct. App. 1988))
แม้จะพอทำให้ผู้เอาประกันภัยควบที่บริสุทธิ์มีความหวังขึ้นมาได้บ้าง
แต่พึงระวังถึงถ้อยคำในกรมธรรม์ประกันภัยด้วย
เนื่องจากการระบุชื่อผู้เอาประกันภัยเป็น “... และ/หรือ ...”
ซึ่งอาจหมายความถึง รายใดรายหนึ่งก็ได้ หรือแม้จะใช้คำว่า “... และ ....”
ก็เช่นกัน เพราะถ้อยคำว่า “ผู้เอาประกันภัย”
ในกรมธรรม์ประกันภัยมิได้แยกแยะออกมาอย่างชัดเจน มักเป็นคำเรียกรวมมากกว่า
ไม่เหมือนคำภาษาอังกฤษที่พอจะแยกแยะออกได้จากการพิจารณาถึงคำนำหน้านาม เป็นต้นว่า
“the, a, an, any”
เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็อาจต้องพึ่งพาการตีความวินิจฉัยของศาลเป็นสำคัญ
นั่นเป็นเรื่องของกรณีผู้มีส่วนได้เสียเดียวกันมาร่วมกันเป็นผู้เอาประกันภัย
ต่อไปจะกล่าวถึงข้อ 2. กรณีผู้มีส่วนได้เสียอื่นตามกฎหมายเข้ามาเป็นผู้เอาประกันภัยร่วมกับเจ้าของกรรมสิทธิ์
2.
ผู้มีส่วนได้เสียอื่นตามกฎหมาย
สามารถเอาประกันภัยในวัตถุที่เอาประกันภัย
ซึ่งตนเองมีส่วนได้
เสียตามกฎหมายอยู่ด้วยได้เช่นกัน อันได้แก่ เจ้าหนี้
ผู้รับจำนอง
ผู้รับจำนำ ผู้ให้เช่าซื้อ ผู้เช่า ผู้รับฝากทรัพย์ ผู้รับจ้าง
โดยมีทาง
เลือกคล้ายคลึงกัน กล่าวคือ
2.1 เป็นผู้เอาประกันภัยเองโดยลำพัง
ยกตัวอย่างเช่น
ธนาคารผู้รับจำนองบ้าน มีสิทธิที่จะนำบ้าน
หลังนั้นไปทำประกันอัคคีภัยในนามของธนาคารเป็นผู้เอา
ประกันภัยเองก็ได้
แต่ถ้าเจ้าของบ้านหลังนั้น
ซึ่งเป็นผู้จำนอง
ก็ทำประกันอัคคีภัยของตนเองขึ้นมา จะกลายเป็นการประกัน
ภัยซ้ำซ้อนไป
โดยเฉพาะหากรวมกันแล้ว ปรากฏมี
จำนวนเงินเอาประกันภัยสูงเกินกว่ามูลค่าที่แท้จริงของ
ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย ยิ่งสร้างความปวดหัวเพิ่มเติมขึ้นมา
อีก
2.2 เป็นผู้รับประโยชน์
ทางเลือกนี้นิยมทำกันมากกว่าข้อแรก แต่ให้ระวังดังที่กล่าว
ไว้ในตอนที่สาม
เพราะการที่เพียงมีชื่อระบุเป็นผู้รับประโยชน์
ตามกรมธรรม์ประกันภัย มิได้เป็นสิ่งที่รับรองว่า จะต้องได้รับ
การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเสมอไป ดังในคำพิพากษาศาล
ฎีกาที่ 6612/2558 ที่วินิจฉัยว่า
การที่ธนาคารผู้รับจำนอง
เพียงแต่มีชื่อเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัย
แล้วจะ
ทำให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยโดยทันทีหา
ได้ไม่
ตราบใดที่ผู้รับประโยชน์นั้นยังมิได้แสดงเจตนาเข้ารับ
หรือถือเอาประโยชน์จากสัญญาประกันภัยตาม ป.พ.พ.
มาตรา 374 ที่ว่าด้วยสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก
แล้ว คู่สัญญาประกันภัยทั้งสองฝ่าย
(ผู้เอาประกันภัยกับ
ผู้รับประกันภัย)
ยังคงผูกพันมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อกันตาม
สัญญาประกันภัยตามปกติทั่วไป เมื่อธนาคารผู้รับประโยชน์
ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้มาแสดงเจตนาเพื่อรับประโยชน์ตาม
กรมธรรม์ประกันภัยครั้งแรก
โดยการทวงถามให้ผู้รับประกัน
ภัยใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนภายหลังจากเกิดเหตุ
เพลิงไหม้ทรัพย์จำนอง อันเป็นวันเริ่มสิทธิของธนาคารใน
ฐานะผู้รับประโยชน์ที่จะเรียกให้ผู้รับประกันภัยให้ชำระค่าสิน
ไหมทดแทนแก่ตนได้ แต่เป็นเวลาภายหลังจากที่ผู้เอา
ประกันภัย
และผู้รับประกันภัยได้ตกลงชดใช้ค่าสินไหมทด
แทนโดยการซ่อมแซม และหาทรัพย์สินมาทดแทน
ความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งการตกลงของผู้เอาประกันภัย
กับผู้รับประกันภัยเป็นการกระทำไปตามสัญญาประกันภัยที่
ระบุว่า
ให้ผู้รับประกันภัยเลือกทำการสร้างใหม่ หรือจัดหา
ทรัพย์สินมาแทนทรัพย์สินที่เสียหายทั้งหมด หรือส่วนหนึ่ง
ส่วนใดแทนการจ่ายเงินชดใช้ก็สามารถทำได้
ซึ่งในขณะที่
ตกลงกันดังกล่าว ธนาคารยังไม่ได้เข้าถือเอาประโยชน์จาก
สัญญาประกันภัย จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้ผู้รับประกันภัยชด
ใช้ค่าสินไหมทดแทน ทั้งในส่วนโกดังทรัพย์จำนองตาม
สัญญาจำนอง
ซึ่งผู้รับประกันภัยจัดการซ่อมแซมให้นั้น ก็ไม่
ใช่กรณีที่ผู้รับประกันภัยใช้เงินให้แก่ผู้เอาประกันภัยตาม
ป.พ.พ. มาตรา 231 จึงไม่จำต้องมีการบอกกล่าวหรือได้รับ
อนุญาตจากธนาคารผู้รับจำนองก่อน
กระนั้น
ถ้าผู้เอาประกันภัยไปกระทำสิ่งใดที่ส่งผลกระทบต่อ
สัญญาประกันภัย
ก็พลอยทำให้สิทธิของผู้รับประโยชน์ได้รับ
ผลกระทบไปด้วยเช่นกัน
2.3 ขยายเงื่อนไขพิเศษ
ถ้าเลือกขยายเงื่อนไขพิเศษ แบบ อค./ทส. 1.54 ว่าด้วย
ส่วนได้เสียของบุคคลอื่น เหมือนดังเช่นในตอนที่สาม ยังไม่
ช่วยแก้ปัญหาที่เกิดจากการกระทำผิดเงื่อนไขของผู้เอา
ประกันภัยได้
เว้นแต่กรณีของผู้มีส่วนได้เสียอื่นตามกฎหมาย
ที่เป็นผู้รับจำนอง ให้ไปเลือกขยายเงื่อนไขพิเศษ
แบบ
อค./ทส. 1.88
ว่าด้วยผู้รับจำนอง (Mortgagees
Clause)
แทนจะดีกว่า แต่ก็ยังไม่อาจห้ามมิให้ผู้เอาประกันภัยทำการ
แก้ไข
เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกสัญญาประกันภัยได้เองอยู่ดี
2.4 เป็นผู้เอาประกันภัยร่วมด้วย
เนื่องด้วยเป็นส่วนได้เสียตามกฎหมายที่แตกต่างกันระหว่าง
เจ้าของกรรมสิทธิ์กับผู้รับจำนองดังเช่นในตัวอย่างนี้
โดย
หลักการจะเรียกว่า “การประกันภัยรวม (Composite
Insurance)” หรือ “กรมธรรม์ประกันภัยรวม (Composite
Policy)”
ในการพิจารณาจึงจำต้องพิเคราะห์ไปตามความ
แตกต่างของส่วนได้เสียนั้นด้วย
อ้างอิงคดีในประเทศอังกฤษ General Accident Fire and
Life Assurance
Corporation Limited v Midland Bank
Limited [1940] 2 KB388
ซึ่งระบุว่า “ไม่มีข้อห้ามมิให้ผู้มี
ส่วนได้เสียที่แตกต่างกันต่อวัตถุที่เอาประกันภัยอันเดียวกัน
มาร่วมกันทำประกันภัยอยู่ในฉบับเดียวกัน
จึงไม่อาจเรียกเป็น
การประกันภัยควบ (Joint Insurance) ได้
ดังนั้น สิทธิและ
ข้อผูกพันตามสัญญาประกันภัยจะแยก
และแตกต่างกันไป”
ยกตัวอย่างเช่น
- การบอกเลิกสัญญาประกันภัยของผู้เอาประกันภัยร่วม
คนหนึ่ง
ไม่มีผลกระทบต่อผู้เอาประกันภัยร่วมอีกฝ่ายหนึ่ง
ซึ่งมิได้เห็นชอบด้วย
- การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยร่วม
คนหนึ่ง
ไม่มีผลกระทบต่อผู้เอาประกันภัยร่วมอีกฝ่ายหนึ่ง
ซึ่งมิได้เห็นชอบด้วย
- การทุจริตของผู้เอาประกันภัยร่วมคนหนึ่ง
ไม่มีผลกระทบ
ต่อผู้เอาประกันภัยร่วมอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งมิได้สมรู้ร่วมคิด
ด้วย
อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างข้างต้นเหล่านี้เป็นแนววินิจฉัยของ
ศาลต่างประเทศ ซึ่งอาจมีหลักกฎหมายที่แตกต่าง
และมี
เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยที่แตกต่างไปจากประเทศไทย
จึงขอให้ใช้วิจารณญาณประกอบด้วย แต่อย่างน้อยก็เชื่อว่า
น่าจะจุดประกายความคิดบางอย่างให้แก่ท่านที่มีโอกาส
ได้อ่านบทความนี้ไม่มากก็น้อย
ข้อสรุป
ฉะนั้น คำถามของหัวข้อที่ว่า
"กรมธรรม์ประกันภัยฉบับเดียว มีผู้เอาประกันภัยหลายคน (Multi-Insureds) ดีหรือไม่?" เมืออ่านมาถึงตอนท้ายนี้
เชื่อว่า ทุกท่านคงได้คำตอบบ้างแล้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบของกรมธรรม์ประกันภัยเป็นสำคัญว่าเป็น
1) กรมธรรม์ประกันภัยแบบควบ
(Joint Policy)
ซึ่งเป็นผู้มีส่วน
ได้เสียตามกฎหมายอย่างเดียวกันหลายคนต่อวัตถุที่เอาประกัน
ภัยเดียวกัน
ในกรมธรรม์ประกันภัยฉบับเดียวกัน
โดยทุกอย่างถือ
รวมกันเป็นหนึ่งเดียว หรือ
2) กรมธรรม์ประกันภัยแบบรวม
(Composite Policy)
ซึ่งเป็น
ผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายที่แตกต่างกันหลายคนต่อวัตถุที่เอา
ประกันภัยเดียวกัน
ในกรมธรรม์ประกันภัยฉบับเดียวกัน โดยมีความ
แตกต่างกันทั้งแง่ของสิทธิ
และข้อผูกพัน
นอกเหนือจากหลักการทั้งสองข้อนี้แล้ว
ผมมองเป็นเพียงลักษณะการรวมชุดความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งเรียกว่า “Bundle
Insurance Policy” หรือ “Package
Policy” เท่านั้น ซึ่งมิได้มีหลักการพิเศษอะไร
ความจริง
ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยเพิ่มเติมอีกหลายประเด็น
เอาไว้ค่อยทยอยมาเล่าสู่กันฟังอีกที เมื่อมีโอกาสนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น